ห้าม คลุมดำ

"เพียงลมพัดผ่าน"


ฉันไม่อยากกล่าวคำว่าอำลา

ฉันใช่มาโอดครวญหรือชวนให้ลุ่มหลง

เพียงลมลมที่ผ่านเลยก็เลยไป

เหมือนน้ำหลากล่องลงไม่คืนหลัง

น้ำก็ยังชุ่มเย็นเป็นสายน้ำ

ไม่เคยขาดไม่ไหลคืนคือความจริง

เราพบกันมีเรื่องราวเล่ากันฟัง

เป็นเหมือนดั่งภาพเขียนที่เสกสรร

บรรยากาศที่ดีและจริงใจ

แม้ไม่มีพยานคำมั่นฤาสัญญา

อย่ารอเวลาให้ล่วงเลยร่างกายจะร่วงโรย

จงโบกโบยโผบินแม้เหน็บหนาว

ใช่ว่าเราจะจากกันนิรันดร์ไป

จงโบกโบยโผบินแม้เหน็บหนาว

ใช่ว่าเรา ... จะจากกันนิรันดร์ไป

แก้เคล็ดสัตว์วิ่งตัดหน้ารถ

มีว่าเดินทางไกลหรือใกล้ หากมีสัตว์วิ่งหรือเลื้อยตัดผ่านหน้ารถไปถือว่าเป็นลางไม่ดี คนโบราณถือว่าเป็นลางบอกเหตุเคราะห์ภัยอันตรายต่างๆ แต่บางครั้งก็เป็นลางดี




สัตว์ผ่านตัดหน้า จากซ้ายไปขวา จะมีโชคมีลาภ

สัตว์ผ่านตัดหน้า จากขวาไปซ้าย ไม่ดี จะมีภัย

สัตว์มาชนรถ ทางด้านหน้า ไม่ดี ให้หาที่จอดรถริมทางสักพักแล้วค่อยเดินทางต่อในอีก 15-30 นาที

สัตว์มาชนรถ ทางด้านขวา ไม่ดี-ไม่ร้าย แต่ให้เดินทางช้าลง และเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น

สัตว์มาชนรถทางด้านซ้าย ไม่ดี ให้หยุดพักกราบดินเพื่อขมาและขอพรแม่พระธรณีก่อนเดินทางต่อไป

สัตว์ชนรถทางด้านหลัง ถือว่าดี ให้เร่งเดินทางจะได้ประสบโชคลาภ

เรื่องไสยศาสตร์กับการปั้นตุ๊กตา


การปั้นตุ๊กตาชาวบ้านส่วนใหญ่จะผูกพันถึงเรื่องไสยศาสตร์ ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของชาวบ้าน การปั้นตุ๊กตาดินเผาหรือตุ๊กตาดินเหนียวของไทยในอดีต หรือปัจจุบันก็ยังมีอยู่เพื่อการเซ่นไหว้ การบวงสรวง ตามความเชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นต้นว่า




การใช้ตุ๊กตาเป็นตัวแทนศัตรูหรือการทำลายล้างศัตรู ด้วยการใช้เวทมนต์คาถาอาคมเสกเป่า ทำร้ายด้วยการใช้เข็มเสียบตามอวัยวะตุ๊กตาที่เป็นตัวแทนของศัตรู หรือด้วยการหักแขน หักขา ศัตรูเพื่อให้เกิดอันตราย เกิดความเจ็บปวดหรือความตายเกิดขึ้นแก่ฝ่ายตรงกันข้าม



นอกจากนั้นมีตุ๊กตาอีกชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นตามความเชื่อถือของชาวบ้าน คือ ตุ๊กตาเสียกบาลเป็นตุ๊กตาที่ทำขึ้น เพื่อปัดเป่าอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนเจ็บป่วย ด้วยการนำเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นตุ๊กตาตัวเล็กๆ นั่งพับเพียบ

อีกข้อมูลเกี่ยวกับว่านแสงอาทิตย์ครับ....


ข้อมูลนี้ จากหนังสือ กบิลว่าน ฉบับสมบูรณ์ ของ ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์ปี 2508 ไม่มีรูปมีแต่ข้อมูลครับ

ว่านแสงอาทิตย์ / ว่านกุมารทอง


ว่านแสงอาทิตย์




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Haemanthus multiflorus (Tratt.) Martyn

ชื่อวงศ์ : Amaryllidaceae

ชื่อสามัญ : Blood flower, Powder puff lily

ชื่อพื้นเมือง : ว่านกระทุ่ม ว่านตะกร้อ



ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์พลับพลึง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาเขตร้อน

ลำต้นเป็นหัวลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่ เจริญอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับรอบต้น ใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาอวบน้ำ สีเขียวอมเหลือง ผิวเป็นมันอาจย่นเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบสั้นมีจุดประสีน้ำตาลแดง



ดอก : ออกดอกในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยต้นจะพักตัวก่อนมีดอก เมื่อดอกโรยแล้วจึงจะผลิใบ ลักษณะดอกจะชูก้านดอกเป็นลำตรงสีเขียวอ่อน จากกลางต้นสูงมาพ้นใบ ยาว 30-40 เซนติเมตร ดอกมีสีแดงสด หรือแดงอมส้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นจากกอ กลีบดอกและเกสรยาวเป็นเส้นฝอย ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง 12-15 เซนติเมตร บานติดต้นอยู่ประมาณ 7-10 วัน จึงจะโรย



การปลูก : ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี ปลูกได้ทั้งในที่กลางแจ้งและในที่ร่ม แต่ต้องปลูกอยู่ในดินที่มีความชื่นพอประมาณ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกหัวไปปลูก หรือเพาะเมล็ด แต่การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ดต้องใช้เวลานาน 5-7 ปี จึงจะมีดอก

ว่านแสงอาทิตย์ นอกจากจะมีดอกสวยงามแล้ว ยังนิยมปลูกเป็นว่านเสี่ยงทาย โดยเชื่อว่าผู้ใดปลูกขึ้นดีไม่ตาย ออกดอกเมื่อใดผู้ปลูกจะมีโชคลาภ ว่านแสงอาทิตย์ถือเป็นว่านมงคลที่มีสรรพคุณทางด้านคงกระพันชาตรี ค้าขายดีมีกำไร เป็นสิริมงคลทั้งยังมีอำนาจ มีเทวดารักษาคุ้มครอง ส่วนใหญ่จึงนิยมปลูกในบริเวณบ้าน หรือปลูกลงกระถางตั้งไว้หน้าร้านค้า จะเป็นเสน่ห์มหานิยม เรียกลูกค้าเข้าร้านไม่ขาด




ว่านแสงอาทิตย์ อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปหลากหลายชื่อ เช่น กรุงเทพฯ และภาคอีสานนิยมเรียกว่า "ว่านแสงอาทิตย์" ตามลักษณะของดอกว่านที่มีเกสรยาวสีแดงเป็นเส้นฝอยคล้ายแสงอาทิตย์ ส่วนทางภาคเหนือนิยมเรียก ว่านกระทุ่ม , ว่านตะกร้อ หรืออาจเรียกว่า "ดอกพฤษภาคม” ตามลักษณะการออกดอกของว่านที่จะออกดอกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ บางพื้นที่อาจเรียกว่า "ว่านพู่ จอมพล" ตามลักษณะของดอกที่เป็นฝอยคล้ายพู่ รูปทรงกลมสีแดงสดใส



อนึ่ง ชื่อว่านแสงอาทิตย์นี้ ตำราว่านโบราณท่านเรียกว่า “ว่านกุมารทอง” อันเนื่องมาจากลักษณะของหัวที่มีรากเป็นกระจุกหนาแน่นดูเหมือนแท่นหรือฐานรองหัว ทำให้ดูคล้ายเด็กผมจุกนั่งอยู่บนแท่น ส่วนชื่อว่านแสงอาทิตย์นั้น ตำราว่านโบราณท่านหมายถึงพรรณไม้อีกชนิดหนึ่งที่แตกต่างกันไป

โดยตำราว่านโบราณกล่าวไว้ว่า เมื่อจะทำการปลูกว่านกุมารทอง ควรเลือกวันอังคารเป็นวันทำการปลูก หากได้วันอังคารเดือน 6 ด้วยแสงจะเพิ่มความขลังยิ่งนัก น้ำที่จะรดในคราวแรกปลูก ควรเสกด้วยพระคาถา “นโมพุทธายะ” สามคาบ แล้วจึงนำไปรดหว่านที่เพิ่งลงดิน และเมื่อใดที่ว่านกุมารทองออกดอกให้เก็บเอาเกสรของดอกมาผสมน้ำมันถั่วทาตัว ถือกันว่าเป็นการกระทำเพื่อความคงกระพันชาตรี ป้องกันอุบัติเหตุภัยอันตรายต่าง ๆ ได้อย่างชะงัดนัก แม้นเกิดเหตุร้ายก็สามารถพาตัวเองหลุดพ้นจากวิกฤติกาล นั้น ๆได้อย่างปลอดภัย

ลักษณะหัวของว่านกุมารทองดูคล้ายหอมหัวใหญ่


ลักษณะหัวของว่านกุมารทองที่มีฐานรองหัว ทำให้จินตนาการคล้ายเด็กผมจุก (กุมารทอง) นั่งอยู่บนแท่น

เล็กๆ น้อยๆ เก็บมาฝาก

การปลูกว่านแสงอาทิตย์นั้นควรต้องระมัดระวัง เนื่องจากมีข้อมูลว่าหัวและใบของว่านแสงอาทิตย์มีพิษ ทำให้ท้องเดิน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ยางจากหัวว่านทำให้ลิ้นแข็ง จนอาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่านแสงอาทิตย์จะมีพิษ แต่หากรู้จักใช้ให้เป็น ใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา

มีคนถามมา


มีคนถามมาเหลือเกินว่า ถ้ากุมารไม่เชื่อฟังเราจะใช้คาถาบทใหน วันนี้ขอบอกเลยครับว่าด้วยพระคาถานี้เลยครับ  บทนี้เลย

ก่อนจะท่องพระคาถา รำลึกถึงครูบาอาจารย์ ก่อนนะครับ แล้วท่องคาถาข้างล่างนี้ 7 จบ
จิเจรุนิ จิตตัง เจตะสิกัง วิญญาณนัง พันธานัง เอหิเอหิ มะมะมามา


ครับ ขอให้โชคดีกับการเลี้ยงกุมารทองครับ

วันดี-ไม่ดี ของวันทั้ง 7

วันอาทิตย์




วันอาทิตย์ ถือกันว่าเป็นวันที่ร้อน เป็นเทพเจ้าแห่งความร้อนแรง ก็พระอาทิตย์ให้ความร้อนยังไงล่ะ ห้ามทำการอะไรที่เป็นการเริ่มต้น ห้ามย้ายบ้าน เพราะจะทำให้ย้ายบ้านบ่อยๆ คือ ย้ายแล้วย้ายอีกอยู่นั่นแหละ ลองสังเกตดูว่าทำไม บางทีก็ทำให้จัดบ้านไม่เสร็จสักที แต่ในหลักความจริงและความเป็นไปได้ วันอาทิตย์เป็นวันหยุด เป็นวันที่สะดวกที่สุดแล้ว เหมาะแก่การขนย้ายใช่มั้ยล่ะ เราถือว่าอาทิตย์เนี่ยค่อนข้างยิ่งใหญ่ จะเป็นแหล่งพลังงานของการสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ เราจึงยกวันอาทิตย์ให้เป็นเรื่องของเกียรติยศ ชื่อเสียง ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน วันนี้จึงเหมาะแก่การเลี้ยงฉลองการเลื่อนตำแหน่ง แต่เมามากไม่ได้นะ เพราะวันจันทร์ต้องไปทำงานไง









วันจันทร์



วันจันทร์ หรือดวงจันทร์เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม และก็เป็นสิ่งที่คู่กันกับดวงอาทิตย์ด้วย เป็นเทพเจ้าแห่งความงาม ความรื่นรมย์ อ่อนหวาน และทรงเสน่ห์ จึงเหมาะกับการเริ่มต้นอะไรที่สวยงาม ในวันนี้เหมาะแก่การสวมใส่เสื้อใหม่เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล ชีวิตก็จะรู้สึกดีแช่มชื่นไปด้วย เปิดร้านใหม่ หรือเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม แต่ไม่เหมาะกับการมีกิ๊กใหม่นะคุณ เพราะมันคือ การลุ่มหลง มัวเมา เจ้าชู้ อันนี้เรื่องจริงตามตำรานะ เพราะดวงจันทร์มีอิทธิพลต่อจิตใจความรัก มักจะวุ่นวายในเรื่องของความรัก ในด้านความอ่อนไหว ไม่แน่นอนในอารมณ์เปลี่ยนใจได้ง่ายๆ









วันอังคาร



วันอังคาร เป็นวันร้อนแรง เป็นเทพเจ้าของสงคราม พวกอัศวินต่อสู้ ความขยัน และกล้าหาญผจญภัย

วันนี้ห้ามใส่เสื้อใหม่ จะเกิดเรื่องไม่ดี ห้ามโกนจุกเด็ก เพราะเป็นวันร้อน เด็กอาจเป็นคนใจร้อน หรือไม่สบาย ไม่ก้าวหน้า และยังก้าวร้าวอีกด้วย แต่ให้ถอยรถใหม่ดี หรือซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า มีด เหล็กลวด อาวุธดี

เพราะเป็นวันที่เหมาะกับการทำกิจกรรมที่เสียงอันตราย แต่ไม่ได้ให้ฤกษ์ดาวโจรนะ บางคนพอเห็นเป็นวันน่าทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายเลยมีใจฮึกเหิม แบบนั้นไม่ใช่ฤกษ์ดีแล้ว อย่าออกไป ตีรันฟันแทงกับใครๆ หรือแข็งขืน ดื้อดึง เอาแต่ใจก้าวร้าวแข็งกระด้างกับเจ้านายล่ะ ตัวใครตัวมันนะ









วันพุธ



"วันพุธห้ามตัดผม” เราจะได้ยินมาตั้งแต่เด็กไม่ว่ารุ่นไหนก็ตาม แล้วบางทีเราจะเห็นว่า ร้านเสริมสวยมักชอบปิดวันพุธ ความเป็นจริงโบราณบอกไว้ว่า วันพุธเป็นวันที่เจ้านายใหญ่ ชั้นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านมักจะตัดผมวันพุธ ก็เลยไม่อยากให้คนชั้นสามัญชน ไปตัดผมวันพุธเทียบเท่าเจ้านาย ความจริงอีกประการหนึ่งก็คือ ดาวพุธมักเดินถอยหลังบ่อย เขาก็เลยไม่ให้ทำอะไรที่เป็นเรื่องของความยาวนาน เช่น เปิดร้านใหม่ ตัดผม หรือแต่งงาน เพราะมันจะกลายเป็นภาวะที่ถดถอยเหมือนดาวพุธที่ชอบถอยหลังอยู่เรื่อย ดาวพุธนี้จริงๆ ดีนะ เป็นเรื่องของความเฉลียวฉลาด รอบรู้ ยุติธรรม จึงไม่อยากให้ทำเรื่องอะไรที่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาที่ยาวนาน เพราะเดี๋ยวก็เปลี่ยน เดี๋ยวก็เปลี่ยน ขืนแต่งงานหรือเปิดร้านใหม่ ไม่เท่าไหร่เบื่อก็เปลี่ยนอีกแล้ว







วันพฤหัสบดี



คนสมัยนี้ชอบบอกว่า วันพฤหัสบดีเป็นวันฤกษ์ดี แต่มักจะบอกว่า วันนี้สระผม ไม่ดี วันพฤหัสบดีเป็นวันครู นิยมจะไหว้ครูกันก็วันนี้แหละ เป็นวันที่น่ายกย่อง จึงควรสวมเสื้อใหม่ หรือทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่คนยกย่อง และมีแต่ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น งานบวชก็ดีนะ หรือวันที่ไปกราบไหว้ผู้ใหญ่ที่เรานับถือ คนถึงนิยมทำพิธีไหว้ครูกันวันนี้ไง เปิดสถานที่ ที่เกี่ยวกับปัญญา เช่น เปิดสำนักงานทนายความ เปิดโรงเรียน หรือร้านหนังสือ เป็นต้นเพราะดาวพฤหัสเป็นดาวดวงใหญ่ ที่เราเปรียบไว้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาและความยุติธรรม ความสุข เงินทองและโชคลาภวันนี้เป็นวันที่ควรประจบประแจงเจ้านายหรือนำเสนองาน เอาใจเจ้านายเอาไว้จะดีนะ แต่ก็ต้องดูอารมณ์เจ้านายด้วย ถ้าเค้าไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะเล่นด้วยก็ช่วยไม่ได้ วันดีแต่ไม่รู้จังหวะเวลาที่เหมาะสมก็ไม่มีประโยชน์อะไร









วันศุกร์



ดาวศุกร์ เกี่ยวข้องกับความรักและความสวยงาม ความดึงดูด เสน่ห์ ศิลปะบันเทิง ความร่วมมือและความสามัคคี จึงมีแต่ความแจ่มใสสุกสกาว หวานหอม เป็นเทพเจ้าของกิเลสและทรัพย์ด้วย คนโบราณก็เลยไม่อยากให้ใส่เสื้อผ้าสีดำ หรือมีงานเผาศพในวันนี้ หรือทำการอันใดก็ตามที่ทำให้เศร้าหมอง

เพราะจะขาดความสุขรื่นรมย์ในชีวิต ดาวศุกร์เป็นเทพีของความรักและความงาม จึงควรทำการหมั้น แต่งงาน ใส่เสื้อใหม่สีสรรสดสวย เปิดร้านใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ เอาเงินเข้าไปเก็บไว้ในธนาคาร แบ่งปันทรัพย์สิน ตกลงธุรกิจดีนักหนา เอาเป็นว่าอะไรที่ดีๆ ก็ทำไปเถอะถ้ามันเป็นความสุขของคุณในวันนี้ แต่ถ้าอยากมีแฟนใหม่อันนี้ก็ต้องจัดการของเก่าให้ดีๆ ซะก่อนนะเดี๋ยวเป็นเรื่อง จะมาโทษดวง คนดูดวง หรือวันไม่ได้นะ









วันเสาร์





วันเสาร์คนชอบบอกว่า ใครเกิดวันเสาร์มักจะเป็นคนดวงแข็ง ก็จริง เพราะทางโหราศาสตร์ มักทายโทษทายทุกข์ให้ทายเสาร์ เป็นเทพเจ้าแห่งความทุกข์ระทม คนที่เกิดวันเสาร์นี้ จึงมักเป็นคนที่ค่อนข้างต้องอดทนอย่างยิ่ง เพราะเจอแต่เรื่องไม่ดี เหน็ดเหนื่อย ลำบากตรากตรำ ดิ้นรน จึงแข็งแกร่งกว่าคนอื่นๆ ไง ดาวเสาร์เป็นดาวที่เคลื่อนตัวช้ามาก จึงไม่ควรใส่เสื้อใหม่ เพราะมักเกิดเหตุร้ายหรือไม่ดีไม่ค่อยสบายใจ ไม่ควรเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ เพราะดาวเสาร์เขาถือว่า ให้โทษให้ทุกข์ ล่าช้า ไม่ดี ไม่เฮง จะทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนก็ไม่ค่อยดี หรือพิธีมงคล เช่น การแต่งงาน การหมั้น งานบวช เป็นต้น แต่ด้วยความสะดวกและสถานภาพในปัจจุบัน คนเราจึงมักจัดงานมงคลหรืองานแต่งงานในวันเสาร์ เพื่อสะดวกต่อการมาร่วมงานของแขกรับเชิญ แต่ถ้าในวันเสาร์นั้น มีพิธีทางศาสนาก่อนแล้วค่อยมีงานรื่นเริงก็จะดีและเป็นมงคล ถือเป็นการแก้เคล็ดด้วยวันเสาร์คนชอบบอกว่า ใครเกิดวันเสาร์มักจะเป็นคนดวงแข็ง ก็จริง เพราะทางโหราศาสตร์ มักทายโทษทายทุกข์ให้ทายเสาร์ เป็นเทพเจ้าแห่งความทุกข์ระทม คนที่เกิดวันเสาร์นี้ จึงมักเป็นคนที่ค่อนข้างต้องอดทนอย่างยิ่ง เพราะเจอแต่เรื่องไม่ดี เหน็ดเหนื่อย ลำบากตรากตรำ ดิ้นรน จึงแข็งแกร่งกว่าคนอื่นๆ ไง วันเสาร์คนชอบบอกว่า ใครเกิดวันเสาร์มักจะเป็นคนดวงแข็ง ก็จริง เพราะทางโหราศาสตร์ มักทายโทษทายทุกข์ให้ทายเสาร์ เป็นเทพเจ้าแห่งความทุกข์ระทม คนที่เกิดวันเสาร์นี้ จึงมักเป็นคนที่ค่อนข้างต้องอดทนอย่างยิ่ง เพราะเจอแต่เรื่องไม่ดี เหน็ดเหนื่อย ลำบากตรากตรำ ดิ้นรน จึงแข็งแกร่งกว่าคนอื่นๆ ไง

แหล่งเช่า-ปล่อยพระเครื่อง

ในปัจจุบันหากกล่าวถึงสนามพระที่มีชื่อเสียงและได้ยอมรับในหมู่นักสะสมพระเครื่องก็มีอยู่หลายที่ทั้งสนามพระที่ติอแอร์แลไม่ติดแอร์ กระผมจึงพยายามรวบรวมข้อมูลไว้ให้กับเพื่อนสมาชิก เสือโหย ดังนี้ครับ




๑.สนามพระในกรุงเทพฯ (ทั้งติดแอร์และไม่ติดแอร์)



๑.๑ ห้างพันธ์ทิพย์พลาซ่า (ห้างบางลำภูเดิม) ถ.งามวงศ์วาน

๑.๒ สนามพระท่าพระจันทร์ ติดกับ ม. ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์

๑.๓ ห้างตั้งฮั่วเส็ง

๑.๔ ห้างเซ็นทรัล พระราม ๒

๑.๕ ห้างอิมพีเรียลเวิร์ล ลาดพร้าว

๑.๖ ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า

๑.๗ ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ

๑.๘ ห้างมณเฑียรพลาซ่าชั้น ๒ ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพฯ

๑.๙ ตลาดพระเครื่องพญาไม้ วงเวียนเล็ก ฝั่งธน

๑.๑o ห้างเจเจมอล์ ใกล้สวนจตุจักร





๒.ตลาดนัดสนามพระ(เปืดเฉพาะวันที่กำหนด)



*วันจันทร์*



- ตลาดพระเครื่องคำเที่ยง จ.เชียงใหม่

- ตลาดเทศบาล จ.อ่างทอง

- ริมสระสาธารณะหน้าตลาดสด อรัณประเทศ จ.สระแก้ว

- วัดอุดมรังสี บางแค กทม.



*วันอังคาร*





- ตลาดพระเครื่องทิพยเนตร จ.เชียงใหม่

- ร้านทิดเทือง แยกท่าน้ำอ้อย จ.อุทัยธานี

- ตลาดนัดพระเครื่อง ศรีสัชนาลัย

- ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จ.สิงห์บุรี

- ห้างอิมพีเรียลเวิร์ลสำโรง ชั้น ๕



*วันพุธ*



- กาดสุขใจ จังหวัดลำพูน ช่วงเช้าถึงบ่าย

- หน้าวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี

- ห้าง IT แสควร์ หลักสี่ กรุงเทพฯ



*วันพฤหัสบดี*



- ตลาดพระเครื่องคำเที่ยง จ.เชียงใหม่

- ตลาดเมดอินไทยแลนด์ พัทยา ช่วงเช้าถึง ช่วงบ่าย

- ศูนย์วัฒนธรรม จ. อุตรดิตถ์

- ตลาด บขส. เก่า อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

- ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า



*วันศุกร์*



- ตลาดพระเครื่องทิพเนตร จ.เชียงใหม่

- ตลาดพระเครื่องจตุจักร จ.นครราชสีมา

- ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า (ห้างบางลำภูเดิม) สาขา งามวงศ์วาน ชั้น ๓

-พุทธสถาน จ.ลำปาง



*วันเสาร์*



- ตลาดพระเครื่อง วัดสันใต้ จ.เชียงใหม่

- กาดสุขใจ จังหวัดลำพูน ช่วงเช้าถึงบ่าย

- โรงภาพยนต์ ทบ. จ.ลพบุรี

- ตลาดพระก่อนวันประกวดพระทุกงาน

- ในสวนจตุจักร กรุงเทพฯ

- บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด อุตรดิตถ์ ช่วงเช้า

- ตลาด อินโดจีน จ.นครพนม



*วันอาทิตย์*



- บริเวณสวนศรีเมือง จ.น่าน

- ตลาดพระเครื่อง วัดสันใต้ จ.เชียงใหม่

- จังหวัดพิษณุโลก หลังวัดใหญ่ (วัดหลวงพ่อพระพุทธชินราช)

- ในสวนจตุจักร กรุงเทพฯ

- ห้าง IT แสควร์ หลักสี่ กรุงเทพฯ

บทสวดสดุดีพระคเณศ 5 บท

ஸ்ரீ மஹா கணபதி ஸ்துதி : ศรี มหา คณะปติ สดุดี







சு'க்லாம்பரதரம் விஷ்ணும்


ச'சி'வர்ணம் சதுர்புஜம்
பர்ஸன்ன வதனம் த்யாயேத்

ஸர்வவிக்னோபசா'நதயே



คำอ่าน

ศุกลาม พรธรัม วิษณุม

ศศิวรณัม จตุรปปุจัม

ปรสัณณ วตณัม ธยาเยต

สรวิฆโน ปศานตเย



வக்ரதுண்ட மஹாகாய்


ஸுர்யகோடி ஸம்பரப

அவிக்னம் குருமே தேவ

ஸர்வ கார்யேஷு ஸர்வதா



วักรตุณฑ มหากาย

สุรยโกฏิ สัมปรป

อวิกณัม คุรุเม เทว

สัรว กาเยษุ สัรวตา



கஜானனம் பூதகணாதி ஸேவிதம்

கபித்த ஜம்பூபல ஸார பக்ஷிதம்

உமாஸுதம் சோக விநாச காரணம்

நமாமி விக்னேச்வர பாத பங்கஜம்



กชาณณัม ภูตคณาธิ เสวิตัม

กปิตต ชัมภูผล สารภักษิตัม

อุมาศุตัม โศกวินาศ การณัม

นมามิ วิฆเนศวร ปาท ปังกะชัม



அகஜானன பத்மார்ககம்

கஜானன மஹர்நிசம்

அநேகதம் தம் பக்தானாம்

ஏகதந்தம் உமாஸ்மஹே



อคชาณณ ปัทมารกกัม

คชาณณ มหัรนิศัม

อเนกตัม ตัม ภักตานาม

เอกทันตัม อุมาสมเห



மூஷிக வாஹன மோதக ஹஸ்த

சாமர கர்ண விலம்பித ஸூத்ர

வாமன ரூப மஹேச்வர புத்ர

விக்ன விநாயக பாத நமஸ்தே



มุษิก วาหน โมทก หัสต

สามร กัรณ วิลัมปิต สูตร

วามณ รูป มเหศวร ปุตร

วิฆณ วินายก ปาต นมัสเต

คณปติ ปัปป้า โมริยา มังคละมูรติ โมริยา

--------------------------------------------------------------------



เรียนเชิญ ร่วมงานพิธีคเณศจตุรถี



ในวันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2553



ตั้งแต่เวลา 9.00 น. - 16.00 น. โดยประมาณ





--------------------------------------------------------------------

ด้วยฤทธิ์ 'กุมารทอง' หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม

หลวงพ่อแย้ม ฐานยุตฺโต เจ้าอาวาสวัดสามง่าม (วัดอรัญญิการาม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ อาวุโสที่มีชื่อเสียงเด่นดังอีกรูปหนึ่งของ จ.นครปฐมดังนั้นไม่ว่าจะมีงานพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคล ณ ที่แห่งใด ก็มักจะต้องปรากฏชื่อหลวงพ่อแย้มร่วมพิธีปลุกเสกด้วยเสมอปัจจุบันท่านอายุ ๙๔ ปี พรรษาที่ ๗๐ ได้รับการแต่งตั้งให้มีสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ซึ่งเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่าท่านมีผลงานด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างดี ยิ่ง




หลวงพ่อแย้ม ฐานยุตฺโต มีนามเดิมว่า แย้ม เดชมาก เป็นบุตรของนายแหยม และ นางวงษ์ เดชมาก เกิดเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๕๘ ณ บ้านเลขที่ ๔๒หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อุปสมบท ณ อุโบสถวัดสามง่าม เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๑ โดยมีพระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อสุข ปทุมวสโณ) วัดห้วยจระเข้เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเต๋ คงทอง เจ้าอาวาสวัดสามง่าม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เพชร วัดสามง่าม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรีแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนด้านการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานการเจริญสมาธิ-จิต เล่าเรียนวิชาอาคม การจารอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ จากหลวงพ่อเต๋ คงทอง ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่ ให้ความเมตตา ครอบครูถ่ายทอดวิชาความรู้ให้อย่างครบถ้วน เรียกได้ว่าท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเต๋ คงทอง อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเรื่องอาคม เจ้าตำรับตะกรุดโทน ตะกรุดหนังเสือและกุมารทองเนื้อดินโป่งวัดสามง่าม
 
นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งฆราวาสและบรรพชิต เช่น หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีความ วิริยอุตสาหะเป็นอย่างยิ่งจนทำให้ท่านมีสมาธิจิตกล้าแกร่งมีความรู้และ ประสบการณ์ในด้านไสยเวทวิทยาเพิ่มพูนขึ้น ท่านมีความรู้ในด้านโหราศาสตร์แบบโบราณ การสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา วิชาแพทย์แผนไทยเป็นตำรายาสมุนไพรต่าง ๆ รวมทั้งการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังทุกรูปแบบทุกประเภท หลังจากที่ หลวงพ่อเต๋ คงทอง มรณภาพแล้ว คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งหลวงพ่อแย้ม ฐานยุตฺโต เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่ามเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๒๕


วัตถุมงคลที่นิยมอย่างสูงสุดของหลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม ที่ขึ้นชื่อลือชาปรากฏอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มีประสบการณ์ กล่าวขวัญที่เลื่องลือระบือไกลทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ คือกุมารทองทุกรุ่นที่หลวงพ่อแย้มปลุก เสก โดยเฉพาะถือเป็นแบบฉบับและเป็นเอกลักษณ์ของวัดสามง่ามอย่างแท้จริง เนื่องจากสร้างและปลุกเสกตามแบบโบราณทุกขั้นตอน โดยมวลสารที่หลวงพ่อใช้มีดิน ๗ ป่าช้า ดิน ๗ โปร่ง ดิน ๗ ท่าน้ำ เถ้ากระดูกคนมีชื่อเสียงจากเมรุเผาศพ เส้นผมของสาวพรหมจรรย์และหลวงพ่อแย้ม ผสมมวลสารเพื่อนำมาสร้างกุมารทองตลอด และจะปลุกเสก ๗ วันเน้น เฉพาะวันแข็งคือวันเสาร์ และวันอังคาร บางครั้งท่านนั่งปลุกจนมีคนได้ยินเสียงเหมือนดังขลุกขลัก แล้วจะบอกว่าองค์ไหนใช้ได้แล้ว หลวงพ่อแย้ม ได้วิชาอาคม แบบฉบับเขมรที่หลวงพ่อเต๋สอนให้ ทำให้ท่านไม่ทรงน้ำมาหลายสิบปีแล้ว เพราะคนที่ศึกษาวิชาด้านเขมร จะไม่ชอบน้ำ และไม่กลัวร้อน บรรดาศิษยานุศิษย์ พ่อค้าแม่ค้าที่นำกุมารทองของหลวงพ่อแย้มไปบูชาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า โดดเด่นทางโชคลาภ ค้าขายร่ำรวย เงินทองไม่ขัดสน

วิธีการนำกุมารทองเข้าบ้าน

วิธีการนำกุมารทองเข้าบ้าน




จุดธูปขออนุญาตพระภูมิเจ้าที่ เจ้าทาง ใช้ธูป 12 หรือ 16 ดอกกลางแจ้งในรั้วบ้าน จากนั้น แนะนำตัวข้าพเจ้าชื่อ............................อยู่บ้านเลขที่..........................ขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายแห่งนี้ที่ปกปักษ์รักษาบ้านข้าพเจ้าอยู่ จงเปิดทางเข้า-ออกให้กุมารทองชื่อ............................จากวัด.............................ให้เข้า-ออกบ้านข้าพเจ้าฯได้โดยสะดวก เพื่อเสริมทรัพย์ เสริมบารมี เฝ้าบ้าน ป้องกันภัย และช่วยค้าขายให้ข้าพเจ้าให้รวยขึ้น ดีขึ้น ขอให้เจ้าที่จงเปิดทางให้กุมารทองด้วย (อือ! เปิดทางให้)

จุดธูปบอกกุมาร ใช้ธูป 2 ดอกปักกลางแจ้งต่อหน้ากุมารก่อนเข้าเรือน จุดธูปบนบานกุมาร(ใช้ธูป 5 ดอก)

วิธีแนะนำตัวกับกุมาร พ่อชื่อ..............เป็นคนนำเจ้ามาบูชา เจ้าชื่อกุมารทอง............พ่อนำเจ้ามาบูชาเพื่อ................จงให้พ่อสมดังใจ มีเงินใช้ไม่ขาดมือ และคุ้มกันภัย ถ้าได้ดังสมประสงค์ พ่อจะให้......................แก่เจ้าเป็นรางวัล เจ้าจงเชิ่อฟังพ่อนะ (แนะนำสมาชิกในบ้านให้กุมารทองรู้จัก และบอกกุมารทองอย่าซน อย่าอู้งาน อย่าหนีเที่ยว จงทำงานให้พ่อสมดังใจ) **ควรตกลงว่า 1 สัปดาห์ จะถวายอะไรให้กินบ้าง

ของถวายกุมารทองที่ชอบมีดังนี้

- น้ำแดง (แล้วแต่จะตกลงให้กี่ขวดต่อสัปดาห์ ให้จุดธูปบอก)

- กล้วยน้ำว้า ขนมโบราณ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ขนมปังไส้ต่าง ๆ

- ผลไม้มีรสหวาน มีสีสัน

- น้ำเปล่า **ห้ามขาดจากหิ้ง



วิธีตั้งกุมาร



ห้ามตั้งกุมารทองหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ใต้บันได หรือปลายเท้า และห้ามหันหน้าตรงกับประตูห้องน้ำ

***ก่อนนอนทุกคืนต้องสวดคาถาบูชา เพื่อกุมารทองจะได้เชื่อฟัง และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น

ไสยศาสตร์สายดำว่าด้วยเรื่องกุมารทอง

กุมารทองดีทางเสน่ห์ ป้องกันภัยอันตราย


การทำกุมารทอง เริ่มมีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โดย

ขุนแผน วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งนักปราชญ์ได้รับรองต้องกันว่าประพันธ์โดยอาศัย

เค้าโครงจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา กล่าวถึงการทำกุมารทองไว้ว่า

ตามตำรานั้นอาจารย์ท่านให้คอยดูว่าวัดใดมีศพตายทั้งกลม ครั้นเวลากลางคืนผู้ที่จะ

ทำกุมารทองต้องมีมีดหมออันได้ปลุกเสกถูกต้องตามพิธีการเป็นเครื่องมือที่สำคัญติดตัวไป

ด้วย การไปเช่นนี้ท่านบังคับให้ไปคนเดียว เมื่อถึงที่เก็บศพแล้ว ก็งัดฝาโลงแก้ตราสังศพ

ออก ใช้มีดหมอผ่าท้องศพเพื่อนำทารกนั้นออกมา ท่านให้บริกรรมด้วยคาถานี้ตลอดเวลาที่

ผ่าศพ " สิทธิเตโช สิทธิจิตตํ มหาภูโต มะสันทนํ "

เมื่อได้ตัวเด็กมาแล้ว ให้พูดกับกุมารนั้นว่า " เจ้าเอ๋ย พ่อนี้รักเจ้ามาก พ่ออยากได้เจ้า

ลูกของพ่อ ไปอยู่กับพ่อเถิดนะ พ่อจะเลี้ยงดูเจ้าให้สุขสบาย เจ้าเต็มใจไปกับพ่อนะลูกนะ "

ตามตำราท่านว่าให้พูดเองตอบเองทำนองว่ากุมารนั้นเต็มใจไปเป็นลูกแล้ว ท่านจึงให้ตัดสาย

รกออกทันที

การใช้กุมารทอง


1. ใช้ให้เฝ้าบ้านในเวลาเจ้าของบ้านไม่อยู่

2. ให้ติดตามไปช่วยเหลือในกิจการต่าง ๆ ของเจ้าของ

3. สืบข่าวในระยะไกล

4. ส่งข่าวโดยกระซิบบอกให้รู้

5. ให้เข้าฝันบอกโชคเคราะห์ปัจจุบัน

6. ป้องกันต่อสู้ศัตรูที่คอยจะทำร้าย

7. ใช้เป็นอาวุธในการทำร้ายศัตรู



คาถา ปลุกกุมาร เลี้ยงผีคุณสมบัติที่ผู้เลี้ยงผีจำต้องมีคือ

1.เรียก เป็นการเรียกหรือเชิญดวงวิญญาณที่ต้องการ

2.ผูก เป็นการผูกให้อยู่เพื่อใช้งานและติดตามเรา

3.ปลุก ปลุกใช้งานเพื่อให้มีริฤ

4.ขับ ต้องไล่ผีให้ได้ทั้งนอกและใน



*กุมารเป็นผู้ที่เราเลี้ยงหรือบูชาไว้ใช้งานเอาบทปลุกกับเรียกเวลาให้ของแล้วกัน

ปลุก -- นโม3จบ จิเจรุนิจิตตัง เจตะสิกัง รูปังกุมารโรวา นะมาๆๆ นะมะพะทะ นะมะอะอุ



เรียกกิน หรือเรียกตาม กุมารัง กุมารีนัง ปิยังมะมะ ปุตตังวะชายะติ (เจ้ารักยม,กุมารทองจงมา.........)ปิยังมะมะ



การใช้กุมารทอง

1. ใช้ให้เฝ้าบ้านในเวลาเจ้าของบ้านไม่อยู่

2. ให้ติดตามไปช่วยเหลือในกิจการต่าง ๆ ของเจ้าของ

3. สืบข่าวในระยะไกล

4. ส่งข่าวโดยกระซิบบอกให้รู้

5. ให้เข้าฝันบอกโชคเคราะห์ปัจจุบัน

6. ป้องกันต่อสู้ศัตรูที่คอยจะทำร้าย

7. ใช้เป็นอาวุธในการทำร้ายศัตรู



คาถา ปลุกกุมาร เลี้ยงผี

คุณสมบัติที่ผู้เลี้ยงผีจำต้องมีคือ

1.เรียก เป็นการเรียกหรือเชิญดวงวิญญาณที่ต้องการ

2.ผูก เป็นการผูกให้อยู่เพื่อใช้งานและติดตามเรา

3.ปลุก ปลุกใช้งานเพื่อให้มีริฤ

4.ขับ ต้องไล่ผีให้ได้ทั้งนอกและใน



*กุมารเป็นผู้ที่เราเลี้ยงหรือบูชาไว้ใช้งานเอาบทปลุกกับเรียกเวลาให้ของแล้วกัน

ปลุก -- นโม3จบ จิเจรุนิจิตตัง เจตะสิกัง รูปังกุมารโรวา นะมาๆๆ นะมะพะทะ นะมะอะอุ



เรียกกิน หรือเรียกตาม กุมารัง กุมารีนัง ปิยังมะมะ ปุตตังวะชายะติ (เจ้ารักยม,กุมารทองจงมา.........)ปิยังมะมะ



กุมารนี้สุดยอด เหนือคำบรรยาย อย่าเอาไปทำเล่นนะคับ ผมคิดว่าดาบสองคมคับ

บทความใหว้ครู

ธูป 16ดอก ดอกไม้ 1 พวง กล้วยน้ำว้า 1 หวี มะพร้าวอ่อน 1 ลูก


หากพิธีใหญ่ผลไม้ 9 อย่าง

น้ำ 1 แก้ว



ไหว้กลางแจ้ง ในวันเกิดของตัวเอง...จันทร์..อังคาร....ช่วงเช้าดีที่สุด



ฤ ฤ รือ รือ ฤ ฤ รือ ชา ฤาษี ร้อยแปด ประสิทธิเม



ว่า 9 จบ

อธิษฐานจิตขอในสิ่งที่เป็นมงคล

การนุ่งห่ม ฦาษี

การนุ่งห่มหนังสัตว์ มีปรากฎในคัมภีร์อินเดีย จำไม่ได้ว่ามีสัตว์อะไรบ้าง แต่หลักๆมีหนังเสือ หนังกวาง


พระศิวะ ก็ห่มหนังเสือ บางทีก็เปลือยกาย แต่การห่มหนังสัตว์มันี"นัยยะ"บางอย่าง



พระศิวะห่มหนังเสือ พระศิวะท่านเป็นโยคี การสวมหนังเสืออาจมีความหมายว่าเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่า อยู่เหนือเจ้าป่าคือ"เสือ"เลยห่มหนังเสือ



ส่วนฤๅษีไทยที่เห็นห่มหนังเสือ เพราะเป็นที่ทราบดีว่าฤๅษีอยู่ป่า

ในป่าก็มีประชนชนชาว"นิษาท"คือพวกนายพราน คนป่า ฯลฯ คนพวกนี้ล่าสัตว์ได้ อาจเอาสิ่งที่มีค่า เช่น หนังเสือ ไปถวายแก่ฤๅษี



ฤๅษีที่ห่มหนังเสือ ปรากฎในคัมภีร์ และเป็นนักบวชนิกายที่นับถือพระศิวะ

ฤๅษีกลุ่มนี้จะอยู่ป่าช้า เอาขี้เถ้าทาตัว เอาเส้นผมคนตาย กระดูก มาประดับร่างกาย ห่มหนังเสือด้วยรึเปล่าไม่รู้ แต่ห่มหนังเสือปรากฎในพระคัมภีร์ ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงครับ....ปัจจุบันมีรึเปล่าไม่ทราบ



หรือการห่มหนังเสือ อาจเป็นความเชื่อบางอย่าง เช่น เสือไม่ทำร้าย เสือเห็นแล้วเกรงกลัว...อะไรประมาณนี้ เดาเอา อิอิ



สมัยโบราณที่ยังไม่รู้จักวัฒนธรรมอินเดีย การห่มหนังเสืออาจมีมานาน แต่ตอนนั้นอาจไม่ได้เรียกฤๅษี



http://www.youtube.com/watch?v=ZKStSy1bnjc

นักบวชห่มหนังเสือ จากละครนิทานเวตาล เวอร์ชั่นอินเดีย

ฦ ฦๅ ฦ ฤ ฤๅ

พระฤๅษีทั้ง ๑๐๘ ตนเสด็จมาสถิตอยู่ทั่วทุกสรรพางย์กายกาย ด้วย อะสังวิสุโลปุสะพุภะ นะโมพุทธายะ มะอะอุ ฤ ฤา

มันไม่แท้

... ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนไม่มีสิ่งใดเป็นของเรา ...




... ผู้ที่เกิดมาเพื่อเป็นปราชณ์ แม้ไปเติบโตที่ใดย่อมเป็นปราชณ์ ...



... หนทางเดียวที่คนชั่วจะได้รับชัยชนะ นั่นก็คือเหล่าคนดีๆนิ่งดูดาย ...



... การมองสรรพสิ่งให้ถ่องแท้ อย่ามองเพียงแค่สิ่งที่เค้าเป็น แต่จงมองสิ่งที่เค้าทำเป็นสำคัญ ...

ตำนานพระภูมิ

พระภูมิ เชื่อกันว่าเป็นเจ้าของพื้นที่ต่างๆในโลกนี้ และมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย ณ สถานที่ต่างๆมีอิทธิฤทธิ์ช่วยปกป้องคุ้มครอง หรือดลบันดาลให้สิ่งร้ายกลายเป็นสิ่งดี และให้โชคลาภความสุข ความสำเร็จ ตามสมควรแก่บุคคลผู้ซึ่งแสดงความเคารพ ปฏิบัติบูชา เซ่นสังเวย ตามโอกาสอันควร และตั้งศาลให้เป็นที่สถิตของพระภูมิโดยถูกต้องตามแบบแผนประเพณี


เรื่องความเป็นมาของพระภูมินี้กล่าวไว้หลายสำนวน สำนวนหนึ่งเป็นตำนานเก่าเล่าสืบต่อกันมาว่า ท้าวทศราช (บางแห่งเรียกว่า ท้าวโศกราช หรือกายทัตต์) กษัตริย์แห่งกรุงพลี กับ พระนางสันทาทุกข์ (บางแห่งเรียกว่า พระนางมันทาทุกธิบดี) มีโอรส ๙ องค์ ซึ่งล้วนแต่ปรีชาสามารถทุกองค์ ต่อมาเมื่อโอรสบรรดาทั้งหลายเจริญวัย ท้าวทศราชก็มอบให้โอรสทั้ง ๙ องค์ พร้อมด้วยบริวารติดตามรับใช้องค์ละ ๓ คน มีชื่อเหมือนกัน คือ นายจันทิศ (บางแห่งเรียกว่า นายจัน) และ นายจันถี (บางแห่งเรียกว่า นายจันที) และ จ่าสพประเชิงเรือน (บางแห่งเรียกว่า จ่าประสพ หรือ อาจเสน หรือ ประเชิงเรือน) ออกไปดูแลรักษาภูมิต่างๆดังนี้

พระชัยมงคล ให้ไปรักษาเคหะสถาน และร้านโรงหอค้าต่างๆ

พระนครราช ให้ไปรักษาทวารเมือง ป้อมค่าย และบันได

พระเทเพน (บางแห่งเรียกว่า พระเทวเถร พระเกเพน หรือพระเทวเถร) ให้ไปรักษา คอกสัตว์ต่างๆ โรงช้าง ม้า โค กระบือ

พระชัยศพณ์ (บางแห่งเรียกว่า พระชัยสพ หรือพระโภศพณ์ หรือ พระโพสพ) ให้ไปรักษายุ้งฉางข้าว และเสบียงคลังต่างๆ

พระคนธรรพ์ ให้ไปรักษาโรงพิธีอาวาห์และวิวาห์ เรือนหอบ่าวสาว

พระธรรมโหรา (บางแห่งเรียกว่า พระเยาวแผ้ว) ให้ไปรักษาไร่ นา ทุ่ง ลาน และป่าเขา

พระเทวเถร (บางแห่งเรียกว่า พระวัยทัต พระสุธาจะ หรือพระศรัทธา) ให้ไปรักษาอารามวิหาร ปูชนียวัตถุ และสถานต่างๆ

พระธรรมมิกราช (บางแห่งเรียกว่า พระธรรมมิกฤช หรือพระธรรมโหรา) ให้ไปรักษาอุทยาน สวนผลไม้ และพืชพันธุ์ต่างๆ

พระทาษธารา (บางแห่งเรียกว่า พระธารธารา หรือพระทาษราชา) ให้ไปรักษา ห้วย หนอง คลอง คู บึง และแม่น้ำต่างๆ

ตามความเชื่อแต่โบราณนั้น ถือกันว่าโอรสทั้ง ๙ องค์ ของท้าวทศราชเป็นพระภูมิทุกองค์ แต่ในปัจจุบันนี้มีพระภูมิเพียง ๒ องค์ เท่านั้น ที่มีศาลอยู่อย่างถาวร และได้รับการสักการะบูชา คือ พระชัยมงคล ซึ่งเป็นพระภูมิประจำเคหะสถาน และ พระธรรมิกราช พระภูมิประจำสวนผลไม้และพืชพรรณต่างๆส่วน พระชัยศพณ์ ผู้รักษายุ้งฉางข้าวนั้นมีแม่โพสพมาแทนที่ สำหรับพระภูมิองค์อื่นๆ คงเหลือแต่ชื่อในตำนานเท่านั้นไม่ปรากฏว่ามีการตั้งศาลเคารพชัดเจน.

<ข้อมูลความรู้จากหนังสือ นามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดประเพณีราษฏร์ เล่ม ๓ (คติความเชื่อ) ของกรมศิลปากร>

ประวัติพระพิราพ(บรมครูอสูรเทพ ปางอวตาลพระศิวะเจ้า)

พระพิราพ" เป็นใคร มาจากไหน และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อวงการนาฏศิลป์และดนตรี?? ตรงนี้มีคำตอบว่า พระพิราพ คือปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นปางที่ดุร้าย เหมือนกับพระอุมาที่มีปางเจ้าแม่กาลี พระพิราพถือเป็นเทพเจ้าแห่งความตายและสงคราม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นผู้ให้ชีวิตและปัดเป่าโรคภัยได้



ส่วนเหตุที่ว่า ทำไมจึงนับถือพระพิราพว่าเป็นครูในวงการนาฏศิลป์และดนตรีนั้น เริ่มมาจากในประเทศอินเดีย ซึ่งถือว่าพระพิราพ หรือพระไภรวะนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า "วิจิตรตาณฑวะ" ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น "นาฏราช" ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพเกรงกลัว เพราะถือเป็นเทพที่บันดาลความเป็นความตายได้





ตามคติตำนานแต่โบราณกล่าวว่า พระไภราวะนี้มีฤทธิ์ในการปราบภูตผีปีศาจ ในสมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาดคร่าชีวิตผู้คนทั้งหลาย ขาดที่พึ่งจึงได้ระลึกถึงพระไภราวะผู้ประทานชีวิตและความตายอันเป็นภาคมหาปราบภาคหนึ ่งของพระศิวะเจ้า เมื่อคนทั้งหลายต่างพากันบูชาพระไภราวะแล้ว โรคร้ายทั้งหลายทั้งปวงก็หายไป บังเกิดความร่มเย็น

เป็นสุขขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นการนับถือพระไภราวะนี้จึงมีคติที่นับถือกันว่าผู้ใดก็ตามที่นับถือบูชาแล้ว ผู้นั้นจะปราศจาก

ภยันอันตราย อาถรรพณ์ร้ายทั้งปวง ทั้งยังช่วยให้เกิดสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย



คติการนับถือพระไภราวะนี้เข้ามาในไทยพร้อมกับวิชานาฏศิลป์ คำว่าพระพิราพนั้นก็มาจากคำว่า “ไภราวะหรือไภรวะ”แล้วภายหลังเพี้ยนมาเป็น “พระไภราพ” จนที่สุดก็กลายมาเป็นคำว่า “พระพิราพ” ในคติของชาวนาฏศิลป์ที่นับถือ





พระพิราพนั้นก็เนื่องจากเชื่อถือกันว่า พระพิราพนี้เป็นบรมครูทางฝ่ายยักษ์ผู้สูงสุดและยังถือว่าพระพิราพนี้เป็นผู้ประทานโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม อุดมด้วยทรัพย์สมบัติ ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์จะเป็นเมตตามหานิยมแก่

คนทั้งหลาย บังเกิดความเจริญสูงสุดในชีวิตทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องการงาน การเงิน และจะมีความร่มเย็นเป็นสุข

ห่างไกลจากโชคร้ายภยันอันตรายทั้งหลายอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่าจะต้องประสบเคราะห์หามยามร้ายอย่างหนึ่ง





อย่างใดก็ดี หากมีพระพิราพบูชามีบารมีแห่งพระองค์คุ้มหัวคุ้มเกล้าแล้วไซร์ ย่อมปลอดภัย ผ่อนหนักเป็นเบา แคล้วคลาดไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้นว่าบ้านใดมีผู้ป่วยเรื้อรังมานานหรือญาติมิตรทั้งหลายเจ็บป่วยขาดที่พึ่ง

เกรงว่าจะรักษามิได้ ก็ให้ระลึกถึงคุณบรมครูพระพิราพ จุดธูปเทียนสักการะ ตั้งจิตอธิฐานถึง คุณพระพุทธเจ้าคุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า และคุณบรมครูอสูรเทพพระพิราพเอาเถิดจะเกิดผลดีเป็นแน่แท้ อำนาจแรงครู จะช่วยปัดเป่าโรคร้ายเสนียดจัญไร เคราะห์ร้าย ทั้งหลายให้พินาศไปเอง แม้ว่าจะประสงค์ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสงค์เงินทองมิให้ขาดมือ ปรารถนาอยากมีโชคมีลาภ ก็ให้จุดธูปเทียนบูชาพระองค์แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้พระองค์โปรดประทานพรอันสิ่งเป็นม งคล ก็จะสมหวังในกาลทุกเมื่อแลฯ



อนึ่งเรื่องเกี่ยวกับพระพิราพนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศีรษะโขนก็ดี การสร้างพระพิราพเต็มองค์ในรูปแบบวัตถุมงคลก็ดี หรือแม้กระทั่งการร่ายรำท่ารำพระพิราพหรือการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์พิราพก็ดี ล้วนแล้วแต่

เป็นความศักดิ์สิทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้นสำหรับการรำท่ารำพิราพเต็มองค์นั้น ครั้งหนึ่งเกือบสูญหายไปจากวงการนาฏศิลป์ในราวปี พ.ศ.๒๕๐๔ นั้นได้ จัดให้มีการถ่ายทอดท่ารำขึ้นที่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงได้มีการ สืบสานตำนานท่ารำพระพิราพเต็มองค์และคติความเชื่อความนับถือพระพิราพมิให้สูญหายไปจา กวงการ

นาฏศิลป์ของไทยเราสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้







คัดข้อมูลจากใบบูชาพ่อพิราพ หลวงพ่อกาหลง เขี้ยวแก้ว

บูชาเมีย

รักเมีย ต้องอดทน ต้องเป็นคน เคารพเมีย


รักเมีย ต้องส่งเสีย อย่าให้เมีย ต้องเสียใจ

รักเมีย ต้องรักเดียว อย่าได้เที่ยว ไปรักใคร

รักเมีย ต้องทำใจ ถึงอย่างไร เทอก็เมีย

รักเมีย อย่าขี้เหล้า เมียจะเหงา เราจะเสีย

รักเมีย อย่าอ่อนเพลีย คนรักเมีย ต้องแข็งแรง

รักเมีย อย่ารุนแรง ค่อยๆแซง อย่าขับไว

รักเมีย ต้องยอมเมีย เพราะว่าเมีย ไม่ยอมใคร

รักเมีย ต้องเข้าใจ ไม่มีใคร ใหญ่กว่าเมีย

รักเมีย อย่าเกี่ยงเมีย คำพูดเมีย ใหญ่กว่าใคร

ชาติหน้า มีฉันท์ใด จงจำไว้ เคารพเมีย

เมื่อท่านผู้ศรัทธาเดินผ่านเทวาลัยพระพิฆเนศวร หรือมหาเทพองค์ใดๆ ควรพนมมือขึ้นเพื่อทำความเคารพ และให้เอ่ยคำว่า "โอม..." สั้นๆเพียงคำเดียวในกรณีที่จำบทสวดเทพองค์นั้นๆไม่ได้ และไม่ใช่เอ่ยคำว่า "สาธุ" นะครับ ต้องเป็นคำว่า "โอม" เท่านั้น จะสวดมนต์ จะขอพร จะกราบ หรือกระทำสิ่งใดก็ตามแต่ ให้เอ่ยคำว่า "โอม" เสมอ




ฉะนั้นนับแต่นี้ไป หากท่านได้พบเห็นเทวรูปพระพิฆเนศ หรือเทพองค์อื่นของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ให้เอ่ยคำว่า "โอม" แทนคำว่า "สาธุ" ก็จะถูกต้องตามหลักปฏิบัติมากกว่าครับ





ท่านผู้ศรัทธาควรหมั่นสวดบูชาเครื่องหมายโอมนี้ด้วยเสมอ

หลังจากที่สวดบูชาเทพทุกองค์เสร็จแล้ว มีคำสวดดังนี้



โอม การัม พินทุสัมยุกตัม

นิตยัม ธยายันติ โยคินา

กามะทัม โมกะสะทัม ไจวะ

โอม การายะ นะโม นะมะ ฯ



ความหมายของบทสวด :

เครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ปรากฏคู่กับเครื่องหมาย พินทุ เสมอ

อันจะเป็นเครื่องหมายที่นำความปรารถนา สุขสมหวังมาให้

สามารถขจัดอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้น และชี้นำเหล่าโยคีไปสู่ปรีชาญาณ

ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะเครื่องหมายโอมอันศักดิ์สิทธิ์นี้....
คำว่า โอม ยังสามารถแยกออกเป็นคำๆ ซึ่งมีที่มาโดยการเปล่งเสียงแต่ละคำของมหาเทพได้อีกดังนี้


1. ตัว อะ - ออกจากพระพักตร์ทางทิศเหนือของมหาเทพ

2. ตัว อุ - ออกจากพระพักตร์ทางทิศตะวันตกของมหาเทพ

3. ตัว มะ - ออกจากพระพักตร์ทางทิศใต้ของมหาเทพ

4. ตัว . (พินทุ) - ออกจากพระพักตร์ทางทิศตะวันออกของมหาเทพ

5. เสียง นาท (เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินและเข้าใจได้) - ออกจากกลางพระพักตร์ของมหาเทพ

บทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "โอม..."

บทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "โอม..."


และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย "โอม" อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งคำว่า โอม นี้เป็นหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!!



โอม...เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู



คำว่า โอม มีลักษณะดังที่เห็นในรูป สังเกตุได้จากลักษณะเด่น คือ

- มีเครื่องหมายคล้ายเลข 3 นำหน้า

- มีเครื่องหมายคล้าย ง. งู ต่อท้าย

- มีถ้วยและหยดน้ำ (เครื่องหมายจุดพินทุ) อยู่ด้านบน



(นอกจากโอมแบบมาตรฐานนี้แล้ว ยังมีอีกหลายลักษณะ ตามแต่ละท้องถิ่นและภาษาของอินเดีย ผู้เขียนจะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป)

อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้

อะ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ)

อุ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ)

มะ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ)



อะ อุ มะ....เมื่ออ่านออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน จึงเกิดเป็นคำว่า "โอม" หมายถึงการเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ในหนังสือบางเล่ม จะสลับความหมายไปมา บ้างก็ว่า อะ คือพระวิษณุ บ้างก็ว่า มะ คือพระศิวะ สลับไป สลับมา แต่ละเล่มก็เลยเขียนไม่เหมือนกันเลย ขอผู้อ่านได้โปรดจำให้ขึ้นใจ จะได้ไม่สับสนนะครับ

พระพรหม มหาเทพผู้ประทานความสุขแก่สรรพสัตว์


พระพรหม มหาเทพผู้ประทานความสุขแก่สรรพสัตว์


ผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในโลก



บทสวดพระพรหมของพราหมณ์



- โอม อาฮัม พรหมมา อัสมิ (บทสวดหลัก)



- โอม สารบัม กฮาลวิดาอี พรหมมา



- สัต ชิด เอกัม พรหมมา



- โอม พรหมมะเน นะมัส



- โอม พรหมมา เทวา นะมัสเต



- โอม สารเว ภะโย พรหมมา เนพะโย นะมะฮา



- โอม ปรเมศะ นะมัสการัม โองการะ นิสสะวะรัม

พรหมเรสะยัม ภูปัสสะวา วิษณู ไวยะทานะโมโทติลูกะปัม

ทะระมา ยิกยานัม ยะไวยะลา คะมุลัม

สทานันตะระ วิมุสะตินัม

นะมัสเต นะมัสเต

จะอะการัง ตะโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมันตะรามา

กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม

สัมโภพะกะละ ทิวะทิยัม มะตัมยะ



- โอม จตุรมุขคาย วิดมาเฮ

ฮันษา รุทยา ดีมาฮี

ตันโน พรหมมา ประโจทะยาตุ



- โอม จตุรมุขคาย วิดมาเฮ

กามันดาลุทารัย ดีมาฮี

ตันโน พรหมมา ประโจทะยาตุ



- โอม ปรเมศวราเย วิดมาเฮ

ปารตัตวาเย ดีมาฮี

ตันโน พรหมมา ประโจทะยาตุ



- โอม นะโม ราโช ชุเศอิ สริสตะอุ

สติตะอุ สัตตะวา มายายะชา

ทะโม มายายะ สัมหะริเนอิ

วิศวารูปายะ เวทาเสอิ

โอม พรหมมันไย นะมะฮา



- โอม อีม หรีม ชรีม กลีม สาอะห์ สัต ชิด เอกัม พรหมมา
คาถาบูชา บทสวดมนต์ง่ายๆ สำหรับบูชาพระพิฆเนศ


หมายเหตุ : บทสวดของพราหมณ์-ฮินดู จะลงท้ายด้วย...นะมะห์ หรือ นะมะฮา หรือ นะมะหะ

ใช้คำไหนก็ได้ไม่ผิดเพี้ยน ภาษาอังกฤษจะเขียนว่า NAMAH

โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ

เป็นบทสวดหลักในการบูชาพระพิฆเนศ

ฟังวิธีออกเสียงที่ถูกต้อง คลิกที่นี่

(โอม ชรี กาเนชายา นะมะฮ์)



โอม พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

(บทสวดของไทย แต่งขึ้นในภายหลัง

สวดทุกวันเพื่อเป็นสิริมงคล) โองการพินทุ นาถัง อุปปันนัง

พรหมมะโน จะอินโท

พิฆเณศวรโต มหาเทโว

อะหัง วันทามิ สัพพะทา

สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง

สิทธิการิยัง ประสิทธิเมฯ

(บทสวดของไทย

สวดขอพรได้ตามประสงค์)

การบูชาแม่พระธรณี

ให้ตั้งนะโม ๓ จบ ว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ




แล้วว่า “อิติปิโสภะคะวาสะวาอะระหัง สุคะโตสวาหะ” ๓ จบ

หลัง จากนั้นสวดด้วย “ตัส สาเกษีสะโต ยะถาคงคา โสตังปะวัตตันติ มาระเสนา ปฏิฐาตุง อาสักโภนโต ปะลายิงสุปาริมานานุภาเวนะมาระ เสนาปะราชิตาทิโส ทิสัง ปะลายันติ วิทังเสนติอะเสสะโต” อย่างน้อย ๓ จบแต่ถ้าจะให้ดี ๒๑ จบ (เพราะกำลังของแม่พระธรณีคือ ๒๑)

คาถา ทั้งสองบทนี้ใช้ได้ตามอธิษฐานทำน้ำมนต์แก้คุณเสนียดได้ผลดียิ่ง หากมีศัตรูให้เขียนชื่อนำแม่ธรณีทับไว้ อธิษฐานให้อภัยต่อกันสวดคาถานี้ทำครบ ๗ วันฝ่ายตรงข้ามจะแพ้ภัยตัวเองไป แต่อย่าจองเวรเขาเลยจึงจะมีผล

เวลาเดินทางให้อธิษฐานพระนางธรณีไปจะพ้น ภัยทั้งปวง เวลามีเหตุให้นึกถึงแม่พระธรณีแล้วภาวนาว่า “สะนะมะอุ” ไปเรื่อย ๆ จะทรงอานุภาพผ่านพ้นภยันตรายนั้นไปได้เป็นอัศจรรย์

คาถาบูชาพระแม่คงคา

โอม อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ


ทุติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ

ตะติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ

วิญญาน 3 ชนิด

วิญญาน 3 ชนิด


การสร้างกุมารทองนั้นแบ่งออกหลักๆเป็น 3 วิธีการสร้างคือ

1. สร้างด้วยดิน 7 ป่าช้าผสมผงพรายกุมาร ผงพรายกุมารนั้นคือผงที่ได้จากการเอากระดูกเด็กมาป่นละเอียดผสมกับผงอิทธิเจและปถมัง กุมารประเภทนี้จะเฮี้ยนและแรงที่สุด แต่มีทั้งคุณและโทษภายในตัว วิญญานที่เชิญลงมานั้นมักเป็นวิญญานในป่าช้า หรือเป็นวิญญานเด็กที่ติดอยู่กับผงพรายกุมารนั่นเอง กุมารประเภทนี้ต้องเซ่นไหว้ให้ดี และหากเวลาผ่านไปนานวันวิญญานภายในตัวกุมารก็สามารถโตขึ้นได้

2. การสร้างด้วยเนื้อดินหรือเนื้อไม้แล้วเชิญญานเทพลงมา กุมารประเภทนี้มักจะไม่ค่อยแสดงตัวเหมือนอย่างแรก เพราะเป็นเทพไม่ต้องเสพอาหารหยาบ ปกติมักปลุกเสกรวมกับพระเครื่อง เช่น กุมารทองของหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม

3. สร้างด้วยไม้ตายพราย ที่นิยมนั้นมักจะสร้างด้วยเนื้อไม้รักซ้อมตายพรายและไม่มะยมตายพราย เพราะถือว่าไม้ตายพรายนั้นเป็นไม้เทพสถิต มีความขลังอยู่ในตัวแม้ไม่ต้องปลุกเสก เมื่อได้ไม้ชนิดนี้มานั้นอาจารย์ผู้เสกจะประจุอาคมพระเวทย์ จิต ตั้งธาตุ หนุนธาตุ เรียกอาการ 32 เรียกนาม จนเกิดเป็นวิญญานอุบัติขึ้นมา วิญญานที่เกิดขึ้นมานั้นจะเรียกว่าพราย คือไม่รู้จักโต พรายพวกนี้จะไม่ทำร้ายผู้ใด แต่ถ้าขาดการดูแลจะอ่อนกำลังและสลายไปในที่สุด

กุมารทองโชคลาภเมตตามหานิยม

กุมารทองโชคลาภเมตตามหานิยม


กุมารทองอีกประเภทหนึ่งนั้นมีไว้เฝ้าบ้าน

เรียกลูกค้า

เป็นเมตตามหานิยม

ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ โดยทั่วไปนั้นผู้บูชาจะตั้งชื่อเอง โดยจะตั้งชื่อที่เป็นมงคล เรียกทรัพย์ต่างๆ กุมารทองชนิดนี้จะไม่มีความดุร้ายสามารถเลี้ยงกันได้ทุกคนไม่มีอันตรายเหมือนอย่างกุมารทองทองชนิดข้างต้น

กุมารทองด้านเมตตาที่สร้างโดยอาจารย์รุ่นเก่าที่ขึ้นชื่อว่าขลังได้แก่หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม แต่ปัจจุบันนี้คือหลวงพ่อแย้มซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเต๋ กุมารทองทางเมตตานี้จะมีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านของการเฝ้าบ้าน เรียกลูกค้า

ตำนานกุมารทองเพชรฆาต

กุมารทองนั้นมี 2 ประเภทคือ กุมารทองที่มีฤทธิ์ทางด้านทำร้ายศัตรู และอีกประเภทคือด้านเมตตามหานิยม กุมารทองประเภทแรกนั้นจะมีความดุร้ายอยู่มาก แบ่งได้เป็น 4 ชนิดด้วยกัน คือ 1.เพชรมั่น 2.เพชรดับ 3.เพชรคง 4.เพชรสูญ กุมารทั้ง 4 ชนิดนี้ เรียกโดยรวมว่า "เพชรภูติงาน" หรือ "เพชรปราบ" มีไว้สังหารหรือทำร้ายศัตรูโดยเฉพาะ ตามตำรากล่าวไว้ว่าการสร้างกุมารทองชนิดนี้จะใช้การอัญเชิญของพวกผีตายโหงหรือปีศาจให้มาสถิตอยู่ในหุ่นกุมารทอง ซึ่งแต่ละชนิดนั้นจะมีวิธีการทำร้ายศัตรูที่ต่างกันไป กุมารทองเพชรสูญจะมีฤทธิ์ในการทำให้คนกลายเป็นบ้า กุมารทองเพชรคงและเพชรมั่นนั้นจะดีในทางด้านเฝ้าบ้านเรือนด้วยการฆ่าคนแปลกหน้าที่มาบุกรุกบ้าน สิ่งที่ปราบกุมารทองเพชรมั่นได้นั้นได้แก่วัวธนูที่ทำจากไม้ไผ่หามผี แต่กุมารทองเพชรคงจะมีฤทธิ์สูงกว่ากุมารทองเพชรมั่นเพราะสามารถเอาชนะได้หรือแม้กระทั่งที่ทำจากครั่ง สิ่งที่เดียวที่จะหยุดได้คือวัวธนูทองแดง ยิ่งไปกว่านั้นกุมารทองเพชรคงยังมีอำนาจในการไล่ตามศัตรูได้ในขณะที่กุมารทองเพชรมั่นจะอยู่แต่ภายในอาณาเขตบ้านเท่านั้น กุมารทองเพชรดับเป็นเพชรฆาตเลือดเย็นที่สามารถหักคอศัตรูอย่างรวดเร็วฉับพลันเหมือนนักฆ่ามืออาชีพมีไว้สำหรับปลิดชีวิตศัตรูโดยเฉพาะ กุมารทองจำพวกนี้ยังคงนิยมอยู่ในเฉพาะนักไสยเวทย์มนต์ดำที่เก่งกล้าหรือแถบเขมรและอิสลาม ไม่ได้นิยมในหมู่นักสะสมเครื่องรางทั่วไป

เทศกาลคเณศจตุรถี 2553

ขอเชิญผู้ศรัทธาทุกท่านเข้าร่วมพิธีบูชาพระพิฆเนศในวันสำคัญ


"เทศกาลคเณศจตุรถี 2553"

ณ วัดเทพมณเฑียร - เสาชิงช้า

ในวันที่ 18-19 กันยายน 2553

-----------------------------------------------------------------------------------

- ร่วม สถาปนา เทวรูปพระพิฆเนศที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อตั้งเป็นองค์ประธานในพิธี

- เข้าพิธี ผูกหม้อกลัศ อัญเชิญเทวานุภาพแห่งองค์พระพิฆเนศวรให้เสด็จลงมาเป็นองค์ประธานในพิธี

- ขอพรจาก เทวรูปทักทูเสธจำลอง เทวรูปพระพิฆเนศปางประทานพรด้านความมั่งคั่งและความสุขสูงสุด

- ร่วม พิธีสวดสรรเสริญ พระพิฆเนศโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อสดุดี ขอพรจากองค์พระพิฆเนศ

- การแสดง ผลงานภาพเขียนพระพิฆเนศ จากศิลปินสยามคเณศ

- ผู้ศรัทธาร่วมการ ยาตรา บำเพ็ญตนต่อองค์พระพิฆเนศด้วยการเดินและสวดบูชา

- ชมพิธี การบูชาพระพิฆเนศอย่างถูกต้อง ตามขั้นตอนที่ระบุในคัมภีร์โบราณ (อุปจาระทุกขั้นตอน)

- พราหมณ์ทำพิธี สวดมนต์บูชาสรรเสริญ สดุดี ขอพรจากองค์พระพิฆเนศ เพื่อสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมงาน

- ร่วมพิธี มหาอารตี การบูชาไฟครั้งใหญ่แด่องค์พระพิฆเนศในช่วงค่ำ

- ร่วม แห่เทวรูป เพื่อส่งเสด็จพระพิฆเนศขึ้นสู่วิมาน โดยการอัญเชิญเทวรูปไปลอย ณ แม่น้ำเจ้าพระยา

- รับฟรี!! ผงชาดในพิธี น้ำมนต์เทวาภิเษก ผงธูปกำยาน และวัตถุมงคลอีกมากมาย



พบกับกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หนึ่งปีมีครั้งเดียว !!!

สะเดาะห์เคราะห์ หนุนดวงชะตา ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์



-----------------------------------------------------------------------------------

สนับสนุนการจัดงานโดย :

เว็บไซต์สยามคเณศ / ร้านอีสจีเวลเซ็นทรัลพระราม 3

บริษัท สินธุสมุทร จำกัด / ฮินดูไทยดอทคอม

-----------------------------------------------------------------------------------

สร้างประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ อันเป็นมงคลแก่ชีวิต

ในเทศกาลเฉลิมฉลองแด่องค์พระพิฆเนศวร์ครั้งสำคัญในรอบปี

-----------------------------------------------------------------------------------



เชิญร่วมบริจาคเพื่อรับเทวรูปฟรี!!!!!

ทุกท่านสามารถร่วมบริจาคเพื่อสมทบเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดงานนี้ เพียงท่านละ 388 บาท

จะได้รับเทวรูปพระพิฆเนศปางพิเศษ "ทักทูเสธ" เป็นที่ระลึกในวันงานท่านละ 1 องค์

เทวรูปดังกล่าวจะถูกนำเข้าพิธีปลุกเสกเบิกเนตรโดยคณะพราหมณ์ในพิธีคเณศจตุรถีนี้

เมื่อเสร็จงานจะแจกให้ผู้สั่งจองนำกลับไปบูชาที่บ้านได้ทันที

(และส่งให้ทางไปรษณีย์ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมงานได้)



ทักทูเสธ - พระพิฆเนศปางขจัดปัญหา ส่งเสริมหน้าที่การงานให้ก้าวหน้าร่ำรวย ประสบแต่ความสุขตลอดไป

เทวรูปปาง "ทักทูเสธ" เป็นเทวรูปพระพิฆเนศปางสำคัญของอินเดีย

จะถูกนำมาปั้นด้วยดิน เป็นองค์ขนาดใหญ่ ความสูง 1 เมตร

เพื่อใช้ประกอบพิธีในวันคเณศจตุรถี เมื่อเสร็จงานจะนำไปแห่และลอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

เทวรูปดังกล่าว จะถูกจำลองเป็นองค์เล็กๆ มอบให้กับผู้สั่งจองล่วงหน้า เพื่อนำไปบูชา ในราคาเพียง 388 บาท

มาดูคาถาเรียกกุมารกันบ้าง

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

* เอหิกุมาโร เอหิกุมารี ปิยังมะมะ ปุตตังวะ ขายะติ

* เจ้ารักยม กุมารทอง จงมาเอหิมะมะ เจ้าฉัตรเพชร กุมารทองลูกพ่อ

มาพูดเรื่องคาถาบ้างดีกว่า..


สิบนิ้วพนมก้มกราบบรมครู ทั้งท่านปู่ ชั้นพรหม ทุกชั้นฟ้า

ทุกสถานวิมานเมฆเทพเทวา ดวงดารา เทือกเขา ลำเนาไพร
ทั้งที่อยู่ใต้สมุทรทุกทิศา เปี่ยมบุญญา บารมีจะหาไหน
อิทธิฤทธิ์ เมตตาจากดวงใน ทั้งอยู่ใกล้ อยู่ไกล ตามศรัทธา
ศิษย์ขอตั้งดวงจิตอธิฐาน ถึงองค์ญาณ บารมีที่รักษา
กายสังขารของลูกผูกพันมา เทพเทวา องค์นำประจำตัว
ลูกจะไม่โอ้อวดตนดังคนโก้ ไม่พูดโม้ ส่อเสียดจนลาภหาย
ไม่ละโมบ เงินทองของนอกกาย ความชิบหาย จะมาเยือนวงค์ตระกูล
ไม่โอหังว่ากูแน่ แพ้ไม่ได้ ใครไม่ไหว้ กูจะแช่งจนดับสูญ
ปลดทิฐิ ไว้ตรงหน้าอย่าอาดูร จะเกื้อกูลหนุนนำทำสิ่งดี
มีเมตตาท่องไว้ให้ตั้งมั่น อีกพร้อมหมั่นความดีไม่หน่ายหนี
รู้จัก ละ ลด ปลด วาง บ้างก็ดี อย่าได้มีสิ่งมิชอบเป็นของตน
ทั้งหมดนี้ขอกล่าวเป็นวาจาสิทธิ์ ขอนิมิตด้วยศรัทธาไม่สับสน
ความเชื่อมั่น ไม่สงสัยในจิตตน จงเปี่ยมล้นบารมีชั่วกาลนาน... เทอญ

การฝึกพลังจิตเคลื่อนย้ายวัตถุ และ ควบคุมกานเต้นของหัวใจ

1.ก็เดิมๆ สมาธิขั้นต้น ทำจิตใจให้สงบก่อน พอสงบได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนเพ่ง เพ่งที่กลางสมองก่อนแล้วจะรู้สึกขนลูกที่กลางหัวของเรา เป็นใช้ได้

2.ถ้าจะstartด้วยพลังจิตของเราเอง เชื่อเถอะ ยาก นาน ผมทำแบบนี้ ดึงดูพลังของธรมมชาติรอบตัวเรา เพ่งไปนานๆ ที่กลางหัวเราเดี๋ยวพลังธรรมชาติรอบตัวมันจาไหลเข้าตัวเราเอง เพราะพลังงานที่มากกว่าย่อมดึงดูดพลังงานที่น้อยกว่า เราก้เหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่ะ.

3.เราจะรู้สึกเหมือนมีอะไรไหลเข้าตัว ร้อนเย็นก็แล้วแต่พื้นฐานธาตุของร่างกายเรา พอไปซักพัก จะรู้สึกว่าอิ่ม จิตใจอึกเหิม มีกำลัง ลืมบอกว่าช่วงแรกที่ฝึกห้ามมีเพศสัมพันธ์นะ ห้ามช่วยตัวเองด้วย จนกว่าจะสามารถ ทำความเคยชินกับพลังนั้นได้

4.พลังที่ได้มาจะกระจัดกระจาย แต่จิตใจตอนนั้นจะมีพลังงานมากนะ ทีนี้เรามาฝึกรวมพลังกัน ไม่ยาก ก็เพ่งอีกนั้นแหล่ะ เพ่งที่สมองส่วนหน้าก่อนอันดับแรก ทำนานๆจะมึนหัว ปวดหัวนิดหน่อยนะ มันยังไม่ชิน คราวนี้ก็หัดเคลื่อนพลัง อันนี้ก็เพ่งตรงจุดที่เราอยากให้ไป

คน ทำฤา....จะสู้ฟ้าลิขิตครับ

ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว


บารมีไม่บำเพ็ญต่อ ย่อมต้องหมด
อิทธิฤทธิ์ไม่ฝึกฝน ย่อมไร้ผลต่อเนื่อง
ความดี มีเท่าไรต่อให้ตายไม่เคยไกลตัว
อวดอะไร ไม่เท่าได้ อวดความดี

วัดที่มีกุมารทอง ในแต่ละจังหวัด

กรุงเทพมหานคร (Bangkok - 曼谷)


พุทธมณฑลสาย 3 พระอาจารย์ปุ้ม วัดศาลาแดง

ซอย รามคำแหง21 อ.พล พยัคฆราช

ซอยวัดชัยพฤกษ์ ตลิ่งชัน อ.เพิ่ม พรายดำ

บางซื่อ หลวงพ่ออึ่ง วัดเซิงหวาย

เขตธนบุรี แขวงบุคคโล พระอาจารย์ศุภสิทธิ์ วัดบางน้ำชน

หลวงพ่อประมาณ วัดสุทธาวาส



- กระบี่ (Krabi - 甲米)

- กาญจนบุรี (Kanchana Buri - 北碧)

อ.ท่าม่วง หลวงพ่อมัก วัดเขาเล็กรางสะเดา (ม.4 ต.พังตรุ บ้านรางสะเดา)

อ.ท่าม่วง หลวงพ่อวัชระ วัดถ้ำแฝด

- กาฬสินธุ์ (Kalasin - 胶拉信)

พระอาจารย์แว่น วัดป่าประชาสามัคคีธรรม

หลวงพ่อฤาษีลิงใหญ่ วัดป่าหนองกุ้ง

- กำแพงเพชร (Kamphaeng Phet - 甘烹碧)

- ขอนแก่น (Khon Kaen - 孔敬)

หลวงพ่อเสน่ห์จันทร์ วัดบ้านหนองโจด

อ.มัญจาคีรี หลวงพ่อดำ วัดพระพุทธบาทรัตนคีรี



- จันทบุรี (Chantha Buri - 尖竹汶)

หลวงพ่อโกย วัดป่าแดง

หลวงพ่อเงิน สำนักสงฆ์สุขสันต์

- ฉะเชิงเทรา (Cha Choeng Sao - 北柳)

อ.พนมสารคาม พระครูสถิตญาณคุณ วัดเตาเหล็ก

- ชลบุรี (Chon Buri - 春武里)

อ.ศรีราชา สำนักสงฆ์ไทรงาม

อ.ศรีราชา หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง

อ.พนัสนิคม หลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง





- ชัยนาท (Chai Nat - 猜纳)

- ชัยภูมิ (Chaiyaphum - 猜也奔)

อาจารย์ทองแท่ง

พระอาจารย์อํานาจ มหาวีโร วัดพระเจ้าอุ้ย

- ชุมพร (Chumphon - 春蓬)

- เชียงราย (Chiang Rai - 昌莱)

ครูบาเจ้าอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ

- เชียงใหม่ (Chiang Mai - 清迈)

อ.สันป่าตอง หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี

อ.สันป่าตอง พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์

อ.สันป่าตอง อาจารย์เณรธีรเดช กันทาดง วัดบ้านกวนใต้ วัดอุโบสถ)

อ.หางดง พระครูสังฆรักษ์พร วัดปู่ฮ่อ

อ.ดอยสะเก็ต วัดแม่ก๊ะกาด (วัดพรหมจริยาราม)

อ.สารภี หลวงพ่อเสน่ห์ วัดเชียงขาง

- ตรัง (Trang - 董里)

พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา

- ตราด (Trat - 桐艾)

- ตาก (Tak - 达)

- นครนายก (Nakhon Nayok - 那空那育)

- นครปฐม (Nakhon Pathom - 佛统)

อ. เมือง หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม

อ. เมือง หลวงพ่อจืด นิมมฺโล สวนปฎิบัติธรรมโพธิเศรษฐี

อ. เมือง หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง

อ. เมือง หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

อ. ดอนตูม หลวงพี่อู๊ด วัดดอนตูม

อ. ดอนตูม หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม

อ. นครไชยศรี หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว

อ. นครไชยศรี หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ

อ. นครไชยศรี หลวงพ่อเพี้ยน วัดตุ๊กตา

อ. นครไชยศรี หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร

หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ

อ.สามพราน หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม

อ.สามพราน หลวงพ่อแป๊ะ วัดสว่างอารมณ์

- นครพนม (Nakhon Phanom - 那空帕农)

อ.เมือง พระอาจารย์ บุญสนอง โชติโก (อ.ตวย) วัดสระพังทอง

- นคราชสีมา (Nakhon Rajcha Sima - 呵叻)

พระอาจารย์แดง เจ้าอาวาสวัดป้อมรามัญฯ

หลวงพ่อสีห์ วัดโต่งโต้น

หลวงปู่ดี วัดโคกหินช้าง

อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อโป่ย ปญฺญาทีโป วัดป่าดงศิลาราม

- นครศรีธรรมราช (Nakhon Sri Thamaraj - 洛坤)

อ.เชียรใหญ่ พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน

อ. สิชล วัดเจดีย์

อ.เฉลิมพระเกียรติ หลวงพ่อสังข์วัดดอนตรอ



- นครสวรรค์ (Nakhon Sawan - 那空沙旺)

อ.เมือง หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร

- นนทบุรี (Nontha Buri - 暖武里)

หลวงปู่แวกาย วัดรวกบางสีทอง

- นราธิวาส (Nara Thiwat - 陶公)

- น่าน (Nan - 难)

- บุรีรัมย์ (Buri Ram - 武里喃)

อ. บ้านกรวด หลวงปู่ชื่น วัดตาอี

อ. บ้านกรวด หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด

อ. บ้านกรวด หลวงพ่อกอย วัดเขาดินใต้

หลวงปู่ฤิทธิ์ วัดชลประทานราชดําริ

อาจารย์คง

- ปทุมธานี (Pathum Thani - 巴吞他尼)

อ. ลาดหลุมแก้ว ครูบาสุบินสุเมธโส วัดทองสะอาด

- ประจวบคีรีขันธ์ (Prachuap Khiri Khan - 巴蜀)

- ปราจีนบุรี (Prachin Buri - 巴真武里)

- ปัตตานี (Pattani - 北大年)

- พระนครศรีอยุธยา (Phra Nakhon Sri Ayutthaya - 大城)

หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน

พระอาจารย์แดง วัดป้อมรามัญ

- พะเยา (Phayao - 碧瑶)

อ.เมือง หลวงปู่ศวัส (พ่อปู่ฤษี )วัดเกษตรสุข

อ.ภูซาง ครูบาทัศน์ ภัทรธรรมโม วัดนาหนุน

- พังงา (Phang Nga - 攀牙)

- พัทลุง (Phatthalung - 博他仑)

- พิจิตร (Phichit - 披集)

- พิษณุโลก (Phit Sanulok - 彭世洛)

หลวงพ่อสมเกียรติ วัดใหม่ศรีสวัสดิ์ชัยมงคล

- เพชรบุรี (Phetcha Buri - 佛丕)

- เพชรบูรณ์ (Phetchabun - 碧差汶)

อ. หล่มสัก พระอาจารย์โอ วัดศรีสุพล

อ.หนองไผ่ หลวงปู่ขุ้ย วัดซับตะเตียน

- แพร่ (Phrae - 帕)

อ.เด่นชัย ครูบาชัยมงคล วัดไทรย้อย

- ภูเก็ต (Phuket - 普吉)

- มหาสารคาม (Maha Sarakham - 吗哈沙拉堪)

อ.วาปีปทุม หลวงปู่ครูบาธรรมมุนี ฐิตธัมโม

- มุกดาหาร (Muk Dahan - 莫拉限)

- แม่ฮ่องสอน (Mae Hong Son - 夜丰颂)

- ยโสธร (Ya Sothon - 益梭通)

- ยะลา (Yala- 惹拉)

- ร้อยเอ็ด (Roi Et - 黎逸)

อ. เมือง หลวงพ่อปุ่น วัดป่าธรรมยุต ( วัดป่าบ้านสังข์)

อ. โพนทอง หลวงปู่เณร คัมภีโร วัดบ้านเกษตรทุ่งเศรษฐี

หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านแจ้ง

- ระนอง (Ranong - 拉农)

- ระยอง (Rayong - 罗勇)

อ.บ้านค่าย หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ

หลวงพ่ออาด วัดตะพุนทอง

- ราชบุรี (Rajcha Buri - 叻丕)

อ.โพธาราม หลวงพ่อประโมท สุวรรณรูป วัดเขาชะงุ้ม

อ.โพธาราม หลวงพ่อเงิน วัดถ้ำน้ำ

อ.ปากท่อ วัดเขาอีส้าน (วัดเทพประทาน)

อ.วัดเพลง หลวงพ่อปิ่น วัดหนองเกษร

- ลพบุรี (Lop Buri - 华富里)

อ.ชัยบาดาล หลวงพ่อสมจิตร สุจิตฺโต วัดถนนโค้ง

อ.บ้านหมี่ ครูบาเจ้าบุญเลิศ วัดศิวิลัยบรรพต

- ลำปาง (Lampang - 喃邦)

อ.เมือง ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้

อ.แม่เมาะ ครูบาเดช สำนักสงฆ์ป่าช้าวัดใหม่รัตนโกสินทร์

- ลำพูน (Lamphun - 喃奔)

อ.ลี้ ครูบาบุดดา วัดหนองวัวคำ

- เลย (Loei - 黎)

- ศรีสะเกษ (Si Saket - 四色菊)

- สกลนคร (Sakon Nakhon - 沙功那空)

- สงขลา (Songkhla - 宋卡)

อ.จะนะ หลวงพ่อจรินทร์ วัดประจ่า

- สตูล (Satun - 沙敦)

- สมุทรปราการ (Samut Prakan - 北榄)

- สมุทรสงคราม (Samut Songkhram - 夜功)

อ. อัมพวา หลวงพ่อใหม่ วัดสวนหลวง

อ. อัมพวา พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่

- สมุทรสาคร (Samut Sakhon - 龙仔厝)

อ.กระทุ่มแบน หลวงพ่อทวีทรัพย์ วัดคลองมะเดื่อ

- สระแก้ว (Sra Kiao - 萨缴)

อ.วัฒนานคร หลวงพ่อวิชัย วัดอุทุมพร

หลวงปู่สุข วัดหนองหินมงคลธรรม

หลวงปู่นอง วัดวังศรีทอง

หลวงพ่อเขิน วัดคลองบุหรี่

หลวงพ่อดำ วัดสันติธรรม

- สระบุรี (Sara Buri - 北标)

อ.ตาพระยา หลวงปู่แผน จันทวังโส วัดหนองติม

หลวงพ่อผินะ วัดสนมลาว

หลวงพ่อเลี้ยง วัดเขารัง

หลวงพ่อปั้น วัดนาดี



อ.พระพุทธบาท หลวงพ่อเปา วัดสวนสำราญ

- สิงห์บุรี (Sing Buri - 信武里)

หลวงปู่รุณ วัดจำปาทอง

อ.บางระจัน หลวงพ่อเสือ (ตาทิพย์) ธัมมวโร สำนักสงฆ์วัดดอนยายเผื่อน

- สุโขทัย (SuKhothai - 素可泰)

- สุพรรณบุรี (Suphan Buri - 素攀)

หลวงปู่มิ่ง วัดบางสาม

พระอาจารย์ประทุม วัดขรัวตาหนู

หลวงปู่ปริ่ง สิริจันโท วัดโพธิ์คอย

อ. เมือง หลวงพ่อศรีเมือง วัดคันทด

- สุราษฎร์ธานี (Surat Thani - 万仑)

อ. ท่าชนะ หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ

วัดเขาชัยสน

- สุรินทร์ (Surin - 素辇)

หลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี

อ.เปล่ง บุญยืน

หลวงปู่อิน วัดหนองเม็ก

- หนองคาย (Nongkai - 廊开)

หลวงปู่เกลี้ยง หนองคาย

- หนองบัวลำภู (Nong Bua Lumphu - 廊磨南蒲)

- อ่างทอง (Ang Thong - 红统)

หลวงพ่อสม วัดโพธิ์ทอง

ลพ.ทองหยิบ วัดบ้านกลาง

หลวงพ่อฟื้น เขมจาโร วัดไทรย์

หลวงพ่อชวน วัดเขาแก้ว

หลวงพ่อสามชัย วัดดอนกระดี่

หลวงพ่อขันติ วัดท่าช้าง

อ.เมือง หลวงพ่อศักดิ์ชัย วัดลิ้นทอง

- อำนาจเจริญ (Amnat Charoen - 庵纳乍能)

- อุดรธานี (Udon Thani - 乌隆)

หลวงปู่บุตร ปุตตโร สำนักสงฆ์ป่าม่วง

- อุตรดิตถ์ (Utta Radit - 程逸)

หลวงพ่อพิน วัดบ้านไร่ห้วยพี้

อาจารย์โค้ว จอมขมังเวทย์

- อุทัยธานี (Uthai Thani - 乌泰他尼)

หลวงพ่ออุปคุต สำนักสงฆ์คลองแห้ง

หลวงปู่ดวงมหาเศรษฐี (ดำรงค์) วัดหนองไผ่

- อุบลราชธานี (Ubon Rajchathani - 乌汶)

หลวงปู่โสม
กรุงเทพมหานคร (Bangkok - 曼谷)


พุทธมณฑลสาย 3 พระอาจารย์ปุ้ม วัดศาลาแดง

ซอย รามคำแหง21 อ.พล พยัคฆราช

ซอยวัดชัยพฤกษ์ ตลิ่งชัน อ.เพิ่ม พรายดำ

บางซื่อ หลวงพ่ออึ่ง วัดเซิงหวาย

เขตธนบุรี แขวงบุคคโล พระอาจารย์ศุภสิทธิ์ วัดบางน้ำชน

หลวงพ่อประมาณ วัดสุทธาวาส



- กระบี่ (Krabi - 甲米)

- กาญจนบุรี (Kanchana Buri - 北碧)

อ.ท่าม่วง หลวงพ่อมัก วัดเขาเล็กรางสะเดา (ม.4 ต.พังตรุ บ้านรางสะเดา)

อ.ท่าม่วง หลวงพ่อวัชระ วัดถ้ำแฝด

- กาฬสินธุ์ (Kalasin - 胶拉信)

พระอาจารย์แว่น วัดป่าประชาสามัคคีธรรม

หลวงพ่อฤาษีลิงใหญ่ วัดป่าหนองกุ้ง

- กำแพงเพชร (Kamphaeng Phet - 甘烹碧)

- ขอนแก่น (Khon Kaen - 孔敬)

หลวงพ่อเสน่ห์จันทร์ วัดบ้านหนองโจด

อ.มัญจาคีรี หลวงพ่อดำ วัดพระพุทธบาทรัตนคีรี



- จันทบุรี (Chantha Buri - 尖竹汶)

หลวงพ่อโกย วัดป่าแดง

หลวงพ่อเงิน สำนักสงฆ์สุขสันต์

- ฉะเชิงเทรา (Cha Choeng Sao - 北柳)

อ.พนมสารคาม พระครูสถิตญาณคุณ วัดเตาเหล็ก

- ชลบุรี (Chon Buri - 春武里)

อ.ศรีราชา สำนักสงฆ์ไทรงาม

อ.ศรีราชา หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง

อ.พนัสนิคม หลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง





- ชัยนาท (Chai Nat - 猜纳)

- ชัยภูมิ (Chaiyaphum - 猜也奔)

อาจารย์ทองแท่ง

พระอาจารย์อํานาจ มหาวีโร วัดพระเจ้าอุ้ย

- ชุมพร (Chumphon - 春蓬)

- เชียงราย (Chiang Rai - 昌莱)

ครูบาเจ้าอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ

- เชียงใหม่ (Chiang Mai - 清迈)

อ.สันป่าตอง หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี

อ.สันป่าตอง พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์

อ.สันป่าตอง อาจารย์เณรธีรเดช กันทาดง วัดบ้านกวนใต้ วัดอุโบสถ)

อ.หางดง พระครูสังฆรักษ์พร วัดปู่ฮ่อ

อ.ดอยสะเก็ต วัดแม่ก๊ะกาด (วัดพรหมจริยาราม)

อ.สารภี หลวงพ่อเสน่ห์ วัดเชียงขาง

- ตรัง (Trang - 董里)

พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา

- ตราด (Trat - 桐艾)

- ตาก (Tak - 达)

- นครนายก (Nakhon Nayok - 那空那育)

- นครปฐม (Nakhon Pathom - 佛统)

อ. เมือง หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม

อ. เมือง หลวงพ่อจืด นิมมฺโล สวนปฎิบัติธรรมโพธิเศรษฐี

อ. เมือง หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง

อ. เมือง หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

อ. ดอนตูม หลวงพี่อู๊ด วัดดอนตูม

อ. ดอนตูม หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม

อ. นครไชยศรี หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว

อ. นครไชยศรี หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ

อ. นครไชยศรี หลวงพ่อเพี้ยน วัดตุ๊กตา

อ. นครไชยศรี หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร

หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ

อ.สามพราน หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม

อ.สามพราน หลวงพ่อแป๊ะ วัดสว่างอารมณ์

- นครพนม (Nakhon Phanom - 那空帕农)

อ.เมือง พระอาจารย์ บุญสนอง โชติโก (อ.ตวย) วัดสระพังทอง

- นคราชสีมา (Nakhon Rajcha Sima - 呵叻)

พระอาจารย์แดง เจ้าอาวาสวัดป้อมรามัญฯ

หลวงพ่อสีห์ วัดโต่งโต้น

หลวงปู่ดี วัดโคกหินช้าง

อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อโป่ย ปญฺญาทีโป วัดป่าดงศิลาราม

- นครศรีธรรมราช (Nakhon Sri Thamaraj - 洛坤)

อ.เชียรใหญ่ พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน

อ. สิชล วัดเจดีย์

อ.เฉลิมพระเกียรติ หลวงพ่อสังข์วัดดอนตรอ



- นครสวรรค์ (Nakhon Sawan - 那空沙旺)

อ.เมือง หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร

- นนทบุรี (Nontha Buri - 暖武里)

หลวงปู่แวกาย วัดรวกบางสีทอง

- นราธิวาส (Nara Thiwat - 陶公)

- น่าน (Nan - 难)

- บุรีรัมย์ (Buri Ram - 武里喃)

อ. บ้านกรวด หลวงปู่ชื่น วัดตาอี

อ. บ้านกรวด หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด

อ. บ้านกรวด หลวงพ่อกอย วัดเขาดินใต้

หลวงปู่ฤิทธิ์ วัดชลประทานราชดําริ

อาจารย์คง

- ปทุมธานี (Pathum Thani - 巴吞他尼)

อ. ลาดหลุมแก้ว ครูบาสุบินสุเมธโส วัดทองสะอาด

- ประจวบคีรีขันธ์ (Prachuap Khiri Khan - 巴蜀)

- ปราจีนบุรี (Prachin Buri - 巴真武里)

- ปัตตานี (Pattani - 北大年)

- พระนครศรีอยุธยา (Phra Nakhon Sri Ayutthaya - 大城)

หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน

พระอาจารย์แดง วัดป้อมรามัญ

- พะเยา (Phayao - 碧瑶)

อ.เมือง หลวงปู่ศวัส (พ่อปู่ฤษี )วัดเกษตรสุข

อ.ภูซาง ครูบาทัศน์ ภัทรธรรมโม วัดนาหนุน

- พังงา (Phang Nga - 攀牙)

- พัทลุง (Phatthalung - 博他仑)

- พิจิตร (Phichit - 披集)

- พิษณุโลก (Phit Sanulok - 彭世洛)

หลวงพ่อสมเกียรติ วัดใหม่ศรีสวัสดิ์ชัยมงคล

- เพชรบุรี (Phetcha Buri - 佛丕)

- เพชรบูรณ์ (Phetchabun - 碧差汶)

อ. หล่มสัก พระอาจารย์โอ วัดศรีสุพล

อ.หนองไผ่ หลวงปู่ขุ้ย วัดซับตะเตียน

- แพร่ (Phrae - 帕)

อ.เด่นชัย ครูบาชัยมงคล วัดไทรย้อย

- ภูเก็ต (Phuket - 普吉)

- มหาสารคาม (Maha Sarakham - 吗哈沙拉堪)

อ.วาปีปทุม หลวงปู่ครูบาธรรมมุนี ฐิตธัมโม

- มุกดาหาร (Muk Dahan - 莫拉限)

- แม่ฮ่องสอน (Mae Hong Son - 夜丰颂)

- ยโสธร (Ya Sothon - 益梭通)

- ยะลา (Yala- 惹拉)

- ร้อยเอ็ด (Roi Et - 黎逸)

อ. เมือง หลวงพ่อปุ่น วัดป่าธรรมยุต ( วัดป่าบ้านสังข์)

อ. โพนทอง หลวงปู่เณร คัมภีโร วัดบ้านเกษตรทุ่งเศรษฐี

หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านแจ้ง

- ระนอง (Ranong - 拉农)

- ระยอง (Rayong - 罗勇)

อ.บ้านค่าย หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ

หลวงพ่ออาด วัดตะพุนทอง

- ราชบุรี (Rajcha Buri - 叻丕)

อ.โพธาราม หลวงพ่อประโมท สุวรรณรูป วัดเขาชะงุ้ม

อ.โพธาราม หลวงพ่อเงิน วัดถ้ำน้ำ

อ.ปากท่อ วัดเขาอีส้าน (วัดเทพประทาน)

อ.วัดเพลง หลวงพ่อปิ่น วัดหนองเกษร

- ลพบุรี (Lop Buri - 华富里)

อ.ชัยบาดาล หลวงพ่อสมจิตร สุจิตฺโต วัดถนนโค้ง

อ.บ้านหมี่ ครูบาเจ้าบุญเลิศ วัดศิวิลัยบรรพต

- ลำปาง (Lampang - 喃邦)

อ.เมือง ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้

อ.แม่เมาะ ครูบาเดช สำนักสงฆ์ป่าช้าวัดใหม่รัตนโกสินทร์

- ลำพูน (Lamphun - 喃奔)

อ.ลี้ ครูบาบุดดา วัดหนองวัวคำ

- เลย (Loei - 黎)

- ศรีสะเกษ (Si Saket - 四色菊)

- สกลนคร (Sakon Nakhon - 沙功那空)

- สงขลา (Songkhla - 宋卡)

อ.จะนะ หลวงพ่อจรินทร์ วัดประจ่า

- สตูล (Satun - 沙敦)

- สมุทรปราการ (Samut Prakan - 北榄)

- สมุทรสงคราม (Samut Songkhram - 夜功)

อ. อัมพวา หลวงพ่อใหม่ วัดสวนหลวง

อ. อัมพวา พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่

- สมุทรสาคร (Samut Sakhon - 龙仔厝)

อ.กระทุ่มแบน หลวงพ่อทวีทรัพย์ วัดคลองมะเดื่อ

- สระแก้ว (Sra Kiao - 萨缴)

อ.วัฒนานคร หลวงพ่อวิชัย วัดอุทุมพร

หลวงปู่สุข วัดหนองหินมงคลธรรม

หลวงปู่นอง วัดวังศรีทอง

หลวงพ่อเขิน วัดคลองบุหรี่

หลวงพ่อดำ วัดสันติธรรม

- สระบุรี (Sara Buri - 北标)

อ.ตาพระยา หลวงปู่แผน จันทวังโส วัดหนองติม

หลวงพ่อผินะ วัดสนมลาว

หลวงพ่อเลี้ยง วัดเขารัง

หลวงพ่อปั้น วัดนาดี



อ.พระพุทธบาท หลวงพ่อเปา วัดสวนสำราญ

- สิงห์บุรี (Sing Buri - 信武里)

หลวงปู่รุณ วัดจำปาทอง

อ.บางระจัน หลวงพ่อเสือ (ตาทิพย์) ธัมมวโร สำนักสงฆ์วัดดอนยายเผื่อน

- สุโขทัย (SuKhothai - 素可泰)

- สุพรรณบุรี (Suphan Buri - 素攀)

หลวงปู่มิ่ง วัดบางสาม

พระอาจารย์ประทุม วัดขรัวตาหนู

หลวงปู่ปริ่ง สิริจันโท วัดโพธิ์คอย

อ. เมือง หลวงพ่อศรีเมือง วัดคันทด

- สุราษฎร์ธานี (Surat Thani - 万仑)

อ. ท่าชนะ หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ

วัดเขาชัยสน

- สุรินทร์ (Surin - 素辇)

หลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี

อ.เปล่ง บุญยืน

หลวงปู่อิน วัดหนองเม็ก

- หนองคาย (Nongkai - 廊开)

หลวงปู่เกลี้ยง หนองคาย

- หนองบัวลำภู (Nong Bua Lumphu - 廊磨南蒲)

- อ่างทอง (Ang Thong - 红统)

หลวงพ่อสม วัดโพธิ์ทอง

ลพ.ทองหยิบ วัดบ้านกลาง

หลวงพ่อฟื้น เขมจาโร วัดไทรย์

หลวงพ่อชวน วัดเขาแก้ว

หลวงพ่อสามชัย วัดดอนกระดี่

หลวงพ่อขันติ วัดท่าช้าง

อ.เมือง หลวงพ่อศักดิ์ชัย วัดลิ้นทอง

- อำนาจเจริญ (Amnat Charoen - 庵纳乍能)

- อุดรธานี (Udon Thani - 乌隆)

หลวงปู่บุตร ปุตตโร สำนักสงฆ์ป่าม่วง

- อุตรดิตถ์ (Utta Radit - 程逸)

หลวงพ่อพิน วัดบ้านไร่ห้วยพี้

อาจารย์โค้ว จอมขมังเวทย์

- อุทัยธานี (Uthai Thani - 乌泰他尼)

หลวงพ่ออุปคุต สำนักสงฆ์คลองแห้ง

หลวงปู่ดวงมหาเศรษฐี (ดำรงค์) วัดหนองไผ่

- อุบลราชธานี (Ubon Rajchathani - 乌汶)

หลวงปู่โสม

คาถา อิติปิโส ถอยหลัง

คาถาบทนี้มี 56 ตัว ให้ภาวนา 3 หรือ 7คาบ ก่อนออกเดินทางไปสารทิศใด ๆ จะแคล้วคลาดปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง หากภาวนาได้ครบ 108 คาบ ติดต่อกัน จะมีตัวเบา เดินตัวปลิว เสก หรือสะเดาะเคราะห์ สะเดาะกุญแจ หรือโซ่ตรวนของจองจำทั้งปวงได้สิ้น


ติ วา คะ ภะ โธ พุท

นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต

ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ

โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ สุ

โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช

โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ

วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ ฯ

ไสยศาสตร์ ทำเสน่ห์ด้วยใบรักซ้อน

ตามความเชื่อโบราณ พิธีกรรมนี้จะจัดหาใบรักซ้อนมา 2 ใบ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธี เช่น น้ำมันจันทน์ ขน สายสิญจน์ รูปถ่าย วันเดือนปีเกิด มาสวดเรียกจิตให้รัก และเขียนชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิดลงในใบรัก และกำหนดจิตวาดรูปคนนั้นลงในใบรักจากนั้นบริกรรมคาถา…..



วิธีแก้

นำรูปถ่ายของสามีมาทำการสวดบริกรรมคาถา ดึงจิตกลับมาที่หน้าหิ้งพระ โดยเขียนชื่อตัวเราประกบกับสามี และสวดคาถา ดังนี้



อิติปิโส 9 จบ (และสวดคาถาไล่ลูกเสน่ห์ต่อ)



นะเนโม สุคะโต อะติตา จะนะโม สุคะโต



ปัจจุปันนา จะนะโม สุคะโต อนาคะตา ปัจจะพุทธา



นะมามิหังฯ สัพเพ เทวา ยักขา



ปริตาปะโร อัคคะเนวา ชาเมตะยะ มะนุสสา



สัพเพโกทา วินาสันติ ทะสาตันจะ ปิยังมุกคะ



ปัตโต สะเนโห สัพเพชะนะ



ปะระชาญะ มหาโภโค มหายะโส โพยะสะเต



วินาสสันติฯ (9 จบ)



แล้วนำชื่อประกบกันไว้ใต้พระจะดีขึ้นแล

ไสยศาสตร์ พิศวาสน้ำซาวข้าว

กรณีนี้จะใช้มนต์ดำพร้อมกับนั่งคร่อมเวลาหุงข้าว จนน้ำคาวปลาหยดลงไป แล้วนำข้าวไปปรุงให้สามีรับประทาน เป็นอันเสร็จพิธี กรณีนี้ทำให้สามีหลงได้มาก




วิธีแก้

สังเกตอาการหากพบว่าสามีหน้าดำ และต้องมั่นใจได้ว่าโดนมาจากวิธีพิศวาสน้ำซาวข้าวแน่ชัดแล้ว ให้ไปหาน้ำพุทธมนต์ 3 วัด อฐิษฐานนึกใบหน้า วันเดือนปีเกิดให้ชัด และนำมาให้สามีดื่ม

ไสยศาสตร์ มัดหุ่นให้หลง (ฝังรูปฝังรอย)

ไสยศาสตร์ทั้งหลาย ชอบทำบาปผิดลูกผิดภรรยาเขา โดยใช้วิธีปั้นหุ่นประกบกัน และใช้อาคมกำกับจิตให้วิญญาณทั้งหลายช่วยทำให้คน 2 คนรักกัน โดยหุ่นไปไว้ในป่าช้า แก้ยาก แล้วแต่กรณี




วิธีแก้

กรณีนี้ต้องดูว่าผู้ทำเป็นพวกเขมรหรือตำหนักทรง เพราะจะได้แก้ถูกวิธี



เบื้องต้นให้หาพระเก่ง ๆ ช่วยสวดไล่ไสยศาสตร์ และผีให้ออกก่อน

ไสยศาสตร์ ของต่ำ (ประจำเดือน)

ของต่ำนี้เกี่ยวกับมหาเสน่ห์ทำให้สามีหลง และชื่นชม คือนำประจำเดือนผสมให้ดื่มกับน้ำต่าง ๆ โดยสวดดลจิตให้หลง ปลุกเสก 7 รอบ เป่าแล้วนำมาให้ดื่ม โดยสมัยโบราณเรียกวิชานี้ว่า “มนต์ผัวหลง” และมีผลอยู่ได้นานสองเดือน




ขอฝากแง่คิดสักนิดว่า หากรักสามีจริงไฉนนำของแบบนี้มาให้รับประทานได้



วิธีแก้

นำน้ำมนต์ 3 วัดมาให้กิน และใส่บาตรถวายพรพระ 3 วัด ให้มาช่วยคุ้มครองร่างกาย สังขาร วิญญาณของสามี ให้พ้นจากไสยเวทนี้

ไสยศาสตร์ เสกของกิน

วิธีนี้ดูยาก เพียงแต่ท่านต้องหมั่นสังเกตท่าทางของผู้ถูกกระทำจะผิดไป โดยมักจะไปหาแต่คนคนนั้น ฉะนั้นท่านควรแก้ไขเบื้องต้นไปก่อน




วิธีแก้

ให้นำชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด ของสามีมาสวดคาถาชินบัญชรที่วัด เพื่อขออำนาจบารมีหลวงปู่โต และพระพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์ ช่วยให้สามีรักครอบครัว นึกถึงความดีซึ่งกันและกัน และกลับมาใช้ชีวิตกับครอบครัว หากสามีถูกไสยศาสตร์ ไสยเวทกระทำ ขอให้บารมีหลวงปู่ช่วยให้เขาดีขึ้นด้วยเทอญ สาธุ (นำน้ำมนต์มาดื่ม)

ไสยศาสตร์ ยาเสน่ห์

นิยมนำจิ้งจกมาทำเสน่ห์ โดยบดเป็นยาให้กิน เพราะเชื่อว่าจิ้งจกเป็นสัตว์ที่รักกันมาก ไม่ทิ้งคู่ บ้างก็นำไปโปรยให้ถูกตัวผู้หญิงที่รัก เชื่อว่าจะทำให้หญิงรักตนเองได้ และสวดคาถา กำกับให้หลง




วิธีแก้

นำรูปถ่ายคู่กันมาบูชาที่หิ้งพระ ขอบารมีท่านช่วย สวดคาถาพระจันทร์เปิดทาง ดังนี้



โอมเทพทั้งหลาย เรียกจิต ตรึงจิต มานิมามา ผูกจิต ผูกใจ พุทธร้องไห้ ธามาหา ยะระงับ พุธจับจิต สามีชื่อ (..........ชื่อสามี..........) ธามาหลง ยะมาหา สาวาหะมารักกูด้วย นะโมพุทธายะ เพี้ยง (15 จบ)

ไสยศาสตร์ ไส้เทียนเรียกจิต

พิธีไสยศาสตร์ ไสยเวท มักทำโดยนำไส้เทียนมาลงยันต์ให้คนหลง โดยภาวนาให้คนรักนึกถึง และเรียกจิตให้มารักอย่างต่อเนื่อง พร้อมว่าคาถากำกับเรียกจิต และจุดเทียนพร้อมสวดไปด้วย




วิธีแก้

ให้จุดธูปกลางแจ้ง 16 ดอก แล้วกล่าวดังนี้



สิบหกชั้นฟ้า สิบห้าชั้นดิน ลูกขอตั้งจิตถึงบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั่วสากลโลก ขออำนาจบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้ชื่อ (..........ชื่อสามี..........) กลับจิตจาก (..........ชื่อสถานที่, ชื่อภรรยาน้อย ฯลฯ..........) ให้กลับมาให้ชีวิตร่วมกับครอบครัวด้วยเทอญ สาธุ

มอญร้องไห้

มอญร้องไห้ สดุดีเทิดพระเกียรติ งานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


เมื่อ 12 ตุลาคม 2551 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง







"มอญร้องไห้" เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ของชาวมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลานต่อผู้ตาย อีกทั้งยังเป็นการรำพันคุณงามความดีของผู้ตาย ที่กระทำไว้เมื่อครั้งยังมีลมหายใจ ผู้ร้องจะใช้ปฏิภาณกวี เนื้อหาที่ร้องนั้นไม่ตายตัว และเป็นภาษามอญทั้งสิ้น



ประวัติความเป็นมาของ "มอญร้องไห้" นั้น มีผู้กล่าวไว้หลายแห่ง เช่น เสถียรโกเศศ กล่าวถึงในหนังสือประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ในตอนที่เกี่ยวกับความตายไว้ว่า ต้นเหตุมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงปาฏิหาริย์ให้พระบาททะลุออกมานอกโลง เพื่อให้พระมหากัสสปบูชา ฝ่ายพุทธบริษัทที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ผลต่างร้องไห้กันระงม จึงเป็นประเพณีสืบต่อมา บ้างก็ว่า เป็นการสืบเนื่องมาจากนางมัลลิกา ทรงกันแสงคร่ำครวญ ต่อพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งชาวมอญนั้นนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จึงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อ ๆ มากับภิกษุสงฆ์ จนถึงฆราวาส ที่มาอีกประการคือ เป็นเรื่องกุศโลบายในการสงครามสมัยพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์มอญที่ขับเคี่ยวกับพม่าในอดีต ราชบุตรของพระเจ้าราชาธิราช คือพระยาเกียรติถูกพม่าเข้าล้อมเมืองโดยไม่รู้ตัว กำลังทหารรักษาเมืองก็น้อย ไม่สามารถสู้รบกับทหารพม่าที่มีกำลังมากกว่า ได้พยายามส่งข่าวไปให้พระราชบิดามาช่วยก็ไม่สามารถทำได้ ยังมีนายทหารชื่อสมิงอายมนทยา อาสาออกไปส่งข่าวด้วยการนำอุบาย ?นอนตาย? ไปบนแพหยวกกล้วย ตามร่างการทาด้วยน้ำผึ้ง ข้างกายมีหม้อปลาเน่า ส่งกลิ่นเหม็นทำให้มีแมลงวันมาตอมเหมือนตายจริง ๆ ขณะเดียวกัน ในระหว่างที่เดินออกมา ก็ให้หญิงสาวชาวมอญโกนหัวเดินร้องไห้โหยหวน พลางรำพึงรำพันถึงคุณงามความดีของสามี ที่นอนตายบนแพหยวกกล้วยนั้น ฝ่ายทหารพม่าไม่ได้เฉลียวใจว่าถูกกลลวง ปล่อยให้ขบวนศพที่มีมอญร้องไห้ผ่านไป จนสามารถนำทัพหลวงมาช่วยได้สำเร็จ จึงเป็นประเพณีมอญร้องไห้ไว้อาลัยสืบต่อกันมา



"มอญร้องไห้" แบบดั้งเดิมของมอญนั้น นิยมทำกันในช่วงดึกสงัด ระหว่างการตั้งศพบำเพ็ญกุศล และช่วงเช้ามืด อีกช่วงก็คือช่วงชักศพขึ้นเมรุเตรียมฌาปนกิจ แต่เดิมผู้ร้องไห้จะเป็นหญิงสูงอายุซึ่งเป็นญาติกับผู้ตาย การร้องไห้นี้เป็นการร้องที่ไม่มีน้ำตา ได้แต่พรรณนาคุณความดีของผู้ตาย พลางสะอื้นน้อย ๆ เป็นระยะ มิได้ฟูมฟายตีอกชกหัว อย่างที่คนยุคหลังนำมาดัดแปลง บางแห่งถึงกับใช้กะเทยแต่งกายเป็นหญิง ร้องพลางกลิ้งตัวลงมาจากเมรุชั้นสูงสุด เพื่อเรียกอารมณ์สะเทือนใจจากแขกที่ร่วมงาน และสิ่งที่ไม่น่าดูอย่างยิ่งก็คือ เมื่อผ้าผ่อนท่อนสไบของกะเทยเปิดเปิง (หากเป็นหญิงยังน่าอภิรมณ์)



กรณีที่ผู้ตายมีฐานะดี ลูกหลานผู้ตายมักหาปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และมีการร้อง "มอญร้องไห้" ประกอบ ร้องพรรณนาคุณงามความดีของผู้ตาย ด้วยความอาลัยรัก เสียงร้องโหยหวนเข้าบรรยากาศ ยิ่งในสมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องขยายเสียงนั้น เสียงร้องไห้อาจสะเทือนใจพลอยทำให้ผู้ที่ได้ยิน ที่แม้ไม่ใช่ญาติผู้ตายก็อดสะเทือนใจจนร้องไห้ตามไม่ได้



ธรรมเนียม "มอญร้องไห้" ได้มีอิทธิพลแพร่เข้าไปยังราชสำนักไทย จะต้องมีนางร้องไห้ทุกครั้งที่สูญเสียบุคคลในราชตระกูล ธรรมเนียมนางร้องไห้ในวังนี้ คาดว่ามีมาแต่ครั้งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มาเลิกไปสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะไม่โปรดฯ ด้วยเห็นว่าน่ารำคาญ ร้องไปคนตายก็ไม่ฟื้นมาได้ แต่ในหมู่สามัญชนนั้นก็ยังมีความนิยมไม่เปลี่ยน



มาระยะหลังชาวไทยได้ประยุกต์ "มอญร้องไห้" ใส่บทร้อง และบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญ เรียกว่าแบบตลาด ส่วนเนื้อเพลงนำมาจากเรื่อง "ราชาธิราช" จับตอนสมิงพระรามหนีเมีย โดยก่อนจะหนีก็เขียนจดหมายสอดไว้ใต้หมอน เข้าไปมองหน้าลูกเมียเป็นครั้งสุดท้าย ผู้ที่ร้องเพลงนี้เอาไว้เป็นท่านแรก คือ ครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ ร้องได้สะเทือนอารมณ์ผู้ฟัง และถือเป็นแม่แบบของเพลงมอญร้องไห้มาจนปัจจุบัน เนื้อความมีดังนี้

หยิบกระดาษวาดอักษรชะอ้อนสั่ง



น้ำตาหลั่งไหลหยดรดอักษร



แล้วสอดไว้ใต้เขนยที่เคยนอน



พิศพักตร์ทอดถอนหฤทัย



ค่อยตระโบมโลมลูบจูบสั่งลา



นางจะรู้ก็ยาก็หาไม่



หักจิตออกนอกห้องทันใด



ขึ้นม้าควบหนีไปมิได้ช้า

แห่เจ้าข้ามน้ำ, แห่เจ้าลุยไฟ

วัดช้างไห้ ที่จำพรรษาของหลวงปู่ทวดซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของคนไทย สำหรับศาลเจ้าเล่งจูเกียงโดยเป็นสถานที่ประดิษฐานขององค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวศูนย์รวมจิตใจของชาวจีนทั่วทั้งจังหวัดปัตตานี และจังหวัดข้างเคียง ตลอดจนชาวจีนทางแถบมาเลเซีย ปีนัง สิงคโปร์ และฮ่องกงสถานที่ตั้งของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า "ศาลเจ้าเล่งจูเกียง" อยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานีซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียสถานที่ทรงความศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี การที่คนหามจะเข้าทำการลุยไฟได้ดังนั้นร่างกายจะต้องสะอาด และงดเว้นจากการเกี่ยวข้องกับสตรีเพศอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุนี้ถึงกับบางคนมานอนค้างที่ศาลเล่งจูเกียงตลอดคืนเพื่อจะให้ร่างกายสะอาดอย่างแท้จริง และคอยเฝ้าคานหามพระมิให้ผู้อื่นช่วงชิงไปแต่ผู้คนในปัจจุบันทุกคนมีแต่กำลังใจจากความเชื่อมั่น และศรัทธา อันแรงกล้าต่อเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวต้องคุ้มครองพวกเขาผ่ากองไฟที่ลุกโชติช่วงได้อย่างสบาย โดยไม่เกิดอันตรายแต่อย่างใด

แห่ผีโบราณ

การแต่งกายของผีโบราณที่พังโคนมีลักษณะคล้ายคลึงกับพวกผีวูดูของฝรั่ง โดยได้นำเอาไม้งิ้ว หรือไม้นุ่นมาตัดให้มีขนาด กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร แล้วแกะสลักให้มีความน่ากลัวมากที่สุดตามจินตนาการของแต่ละคนว่ารูปร่างหน้าของผีจะต้องเป็นอย่างนี้ หรืออย่างนั้นต่อจากนั้นมีการเอาปูนขาว และดินหม้อมาทาให้เกิด ลวดลายพอสวยงามส่วนเครื่องแต่งกายผู้ที่จะเล่นต้องไปเที่ยวหาผ้าจีวรเก่า ๆ ที่ไม่ใช้แล้วจากพระภิกษุสงฆ์ตามวัดวาอารามต่าง ๆ มาตัดเป็นเสื้อรุ่มร่ามยาวคลุมถึงน่อง เส้นผมใช้เปลือกกล้วยแห้งมาถักให้ยาวตกถึงน่อง และผนึกติดกับหน้ากากโขน อาวุธของผีโบราณมีดาบ หน้าไม้ และอวัยวะเพศที่ทำจากไม้นุ่นเนื่องจากสมัยก่อน จำนวนประชากรยังมีน้อยบรรพบุรุษอยากให้การเล่นผีโบราณดำเนินอย่างต่อเนื่องเพื่อปฎิบัติศาสนกิจในปีต่อไปหากไม่กำหนดระยะเวลาการเล่นผีโบราณ ปีต่อไปผู้คนอาจน้อยลง หรือไม่มีเลยจึงกำหนดให้ผู้เล่นผีโบราณเพศชายต้องเล่นติดต่อกันอย่างน้อย 6 ปี ส่วนผีเพศหญิงอย่างน้อยต้อง 3 ปีแม้ปีถัดมา ใครมีเวลาน้อยอนุญาติให้สวมเครื่องแต่งกายผีลงเต้นแค่รอบสองรอบเป็นอันใช้ได้ซึ่งลูกหลานบ้านไฮหย่องไดถือปฎิบัติเป็นวินัยอย่างจริงจัง และเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของผู้ชายอันจะได้ชื่อเป็นชาวไฮหย่องอย่างสมบูรณ์ แม้จะสู่ขอหญิงใดมาเป็นภรรยาทางพ่อแม่ญาติพี่น้องก็ไม่มีความรังเกียจ นอกจากนี้ยังเป็นการสอนทางอ้อมให้ชาวไฮหย่องมีความอดทนทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ

ประเพณีการล้างป่าช้า

การเก็บศพที่นี้ หมายถึงการเกื้อกูลแก่ซากศพอันปราศจากเจ้าของแห่งชีวิตนั้นหมายรวมถึงการจัดการกับซากศพดังกล่าวให้ถูกต้องตามประเพณี ไม่ให้เป็นที่อุจาดแก่สาธารณชน ในทางจีนเรียกกิจเช่นนี้ว่า " ซิวซี " ส่วนการล้างป่าช้านั้นหากเก็บความตามรูปศัพท์ก็หมายถึงการเก็บกวาดชำระล้างป่าช้า หรือสุสานอันเป็นที่พักพิงของซากศพให้สะอาดเรียบร้อย หากในทางธรรมาธิษฐาน ยังหมายรวมไปถึงการโปรดสรรพวิญญาณอันไร้ญาติขาดมิตรที่จะเซ่นสรวงให้ได้ไปบังเกิดในแดนสุขาวดีทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการเก็บศพ หรือล้างป่าช้า ก็ล้วนมีความหมายที่มุ่งไปในทางคุณธรรมความดีทั้งสิ้น ที่มาแห่งกุศลกิจดังกล่าว ดูเหมือนจะเริ่มจากความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับตามคติชนกับความเชื่อของศาสนายู้ และเต๋า ยิ่งเมื่ออิทธิพลของพุทธศาสนาแผ่เข้ามาสู่มัธยมประเทศเป็นเหตุให้เกิดพิธีกรรมทางมหายาน ที่เรียกว่า " พิธีเซ่นสรวงดวงวิญญาณในเดือนเจ็ด " หรือที่ชาวจีนนิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า " อู้ลั้งเซ่งหวย " นี่เป็นปฐมเหตุแห่งกุศลกิจข้างต้นด้วย




เหตุที่เชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และการกลับชาติมาเกิดอีก คติเรื่องวิญญาณ และผี จึงถูกนำมาอธิบาย การประสมประสานความเชื่อ ก่อให้เกิดเป็นพิธีกรรมต่าง ๆ ผีที่มีญาติเจ้าของก็จะได้รับส่วนปัจจัยในการทำบุญอุทิศผลไปให้ส่วนวิญญาณที่ปราศจากผู้ดูแล และเอาใจใส่ให้การเซ่นสรวง ก็จะบังเกิดทุกขเวทนาอย่างสาหัส ยิ่งเชื่อในคำสอนเรื่องนรกก็ยิ่งจะแลเห็นความเดือดร้อนของสัตว์อันรับโทษทัณฑ์ตามกระแสกรรมที่เคยก่อไว้ในนรกภูมิดังปณิธานของพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ที่ว่า " ตราบใดที่นรกภูมิยังไม่สิ้นจากทุกข์เวทนาของเหล่าสัตว์ จะยังไม่ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณสู่พระนิพพานภูมิเป็นอันขาด "

ตำนานสมิงพราย

เรื่องเล่านี้เป็นตำนานของจังหวัดแห่งหนึ่งใน ต.เขาสมิง ปู่กับหลานคู่หนึ่ง เดิมเป็นคนพื้นเพในละแวกนี้ เดินทางเข้าไปในป่า เพื่อตัดไม้มาเผาถ่านขาย หนทางเต็มไปด้วยเถาวัลย์ และกิ่งไม้ละโยงละย้า เดินไปพลางก็ฟันกิ่งไม้ไปพลาง อากาศเริ่มเย็นขึ้น ๆ เพราะตอนนี้สองคนปู่หลานเข้าป่ามาลึกมากแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะค่อยมีคนเดินเข้ามาถึงที่นี่ "แกล้บ แกล้บ" เสียงเหยียบใบไม้แห้งดังมาจากที่ใดสักแห่งในป่า ปู่กับหลานหยุดเดิน แล้วเงื่ยหูฟัง แต่ก็ไม่ได้ยินอะไร ทั้งสองก็ไม่ได้คิดอะไรเดินตัดไม้ต่อไป จนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ปู่กับหลานก็หลงป่า เพราะมองไม่เห็นทาง หาทางออกจากป่าไม่เจอ จึงพยายามหาต้นไม้ที่สูง และกว้างพอที่จะนอนพักเอาแรงได้ เพื่อเดินทางกลับบ้านในวันรุ่งขึ้น คืนนั้นปู่กับหลานนอนอยู่บนกิ่งไม้ใหญ่ เพราะปู่รู้ดีว่าในกลางป่าอย่างนี้ต้องมีอันตรายแน่นอน




เวลาประมาณตีหนึ่งกว่า ๆ อากาศเย็นขึ้นกว่าเดิม วังเวงผิดปกติหลานก็หลับสนิท ปู่ก็ครึ่งหลับครึ่งตื่นได้ยินเสียงเหยียบใบไม้เหมือนเมื่อตอนกลางวัน ปู่ก็สะดุ้งตื่นขึ้นแล้วปลุกหลาน หลานเหลือบไปเห็นหญิงคนหนึ่งหน้าตาคล้ายแม่ของตนเองมากแล้วพูดว่า "แม่มาตามหนูกลับบ้านหรือ" "จ้ะลูก" เสียงตอบจากหญิงคนนั้น "ลงมาหาแม่เร็ว" ขณะที่เด็กคนนั้นกำลังจะลงไปหาหญิงคนนั้น ปู่ก็คว้ามือของเด็กเอาไว้ ห้ามไม่ให้ไป แล้วพูดว่า "นั่นไม่ใช่แม่แกหรอก" เด็กก็ยังอยากจะไปหาแม่ จึงร้องไห้เสียงดัง หญิงคนนั้นก็เดินไปเดินมาแล้วเรียกเด็กคนนั้นต่อไป ปู่จึงหันไปกำใบไม้ข้าง ๆ ตัว แล้วเสกคาถากว้างไปยังหญิงที่อยู่ข้างล่าง หญิงคนนั้นร้องเสียงดังอย่างโหยหวน แล้วพยายามปืนขึ้นไปหาปู่ กับหลานสองคน แต่ปู่ก็เสกใบไม้แล้วคว้างลงไปอีก หญิงคนนั้นกลับกลายร่างเป็นเสือตัวเมีย ร้องคำรามด้วยความเจ็บปวดแล้ววิ่งหนีหายไปในป่า...



ตำนานนี้จึงเกิดมาเป็น ต.เขาสมิง ของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก

ตำนาน ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร

ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร




ท้าวกุเวร มีอีกพระนามหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวเวสวัณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์ หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครอง และดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร ดูแลปกครองรับผิดชอบมีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4



ท้าวจาตุมหาราช 4 คือ









ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก



ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้



ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก



ท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศเหนือ





ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจาก พระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย เป็นเทพแห่งขุมทรัพย์ เป็นมหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูติผีปีศาจทั้งปวง นอกจากนี้ท่านยังดูแลปกป้องคุ้มครอง พระพุทธศาสนา ท้าวกุเวร องค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไมให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ

ตำนานผาชู้

ดอยผาชู้ เป็นโขดหิน และหน้าผาขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่เขียวขจีหลายแสนไร่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ และสายน้ำของแม่น้ำน่าทอดตัวไหลคดเคี้ยวสู่ทิศใต้ยาวหลายสิบกิโล ยามหน้าหนาวจะมีทะเลหมอกสีขาวตัดกับความเขียวขจีของป่า และแสงสีทองของดวงอาทิตย์ขึ้นงามเช้าอย่างสวยงามมาก และเป็นสถานที่เกิดตำนานรักสามเส้าที่ตัดสินความรักด้วยความตาย โดยมีตำนานเล่าว่า”ณ ที่แห่งนี้เมื่อหลายปีที่ผ่านมามีตำนานเล่าขานสืบทอดกันว่า ที่แขวงศรีษะเกษมีเจ้าแขวงเป็นชายรูปงามนามว่า “เจ้าจ๋วง” ได้เสกสมรสกับ “เจ้าจันทร์” เป็นชายา ครองรักกันมาหลายขวบปียังไม่มีบุตร – ธิดาแต่อย่างใดอยู่มาวันหนึ่ง เจ้าจ๋วงได้ออกประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ ขณะตามล่าสัตว์ป่าได้หลงทางมาถึงบริเวณโขดหินสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางแมกไม้ที่เขียวขจีมีสภาพสมบูรณ์ มีทัศนียภาพที่สวยงามยิ่งได้พบกับกระท่อมของพรานป่าซึ่งมีธิดาสาวสวยนาม “เจ้าเอื้อง” อาศัยอยู่ด้วยกันสองพ่อลูกพอเจ้าจ๋วงได้พบประสบพักตร์เจ้าเอื้องทำให้เกิดความหลงใหล หลงรักอย่างทอนตัวไม่ขึ้นจึงได้เฝ้าเพียงพยายามบอกรักเจ้าเอื้องอยู่เป็นเวลานาน




กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ซึ่งความรักเปรียบเสมือน “น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน” ในที่สุดเจ้าจ๋วงก็ได้ครองรักกับเจ้าเอื้องเป็นชายาอีกนางหนึ่ง เจ้าจันทร์เมื่อเห็นว่านางจ๋วงได้ประพาสป่า และไม่กับแขวงเป็นเวลานานจึงได้ติดตามเสาะหาอยู่หลายวัน จนกระทั่งวันหนึ่งได้ตามมาพบเจ้าจ๋วงกำลังพรอดรักกับเจ้าเอื้องอยู่บนยอดโขดหินใหญ่ จึงได้ตัดพ้อต่อว่า และยื่นคำขาดให้เจ้าจ๋วงเลือกเอาว่าจะตัดสินใจครองรักอยู่กับใคร แต่เพียงนางเดียวเจ้าจ๋วงได้ใช้ความคิดอยู่เป็นเวลานาน ก็ไม่สามารถที่จะตัดสินใจเลือกใครคนใดคนหนึ่งได้ จึงอธิษฐานว่า….



”ถ้าความรักของเราทั้งสามคนเป็นความรักที่บริสุทธ์เป็นรักแท้ตราบเท่านิจนิรันดร์ ขอให้ร่างกายเรากลับกลายเป็นต้นไม้อยู่คุ่กับโขดหินใหญ่แห่งนี้ตลอดกาลนาน” ได้ตัดสินใจกระโดดหน้าผา เจ้าจันทร์เห็นดังนั้นจึงได้กระโดดหน้าผาตามไป ส่วนเจ้าเอื้องได้ทราบ และเกรงกลัวต่อบาปกรรมจึงได้กระโดดหน้าผาตามไปอีกคน ทำให้เสียชีวิตทั้งสามคนด้วยด้วยอำนาจคำอธิษฐานอันแรงกล้า “เจ้าจ๋วง” ได้กลายร่างเป็นต้นจ๋วง “เจ้าจันทร์” ได้กลายร่างเป็นต้นจันทร์ผา “เจ้าเอื้อง” ได้กลายร่างเป็นต้นกล้วยไม้ หรือดอกเอื้องขึ้นอยู่ตามหน้าผาแห่งนี้โขดหินใหญ่แห่งนี้จึงถูกเรียกขานนามว่า “ผาชู้” มาแต่บัดนั้น….

ตำนาน ผีพรายบางกอกน้อย

วันหนึ่งเวลากลางวัน นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายยตราใบโพธิ์ กินข้าวเสร็จแล้วก็ไปอาบน้ำที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงหน้าตลาดท่าเตียน เพราะปกติชอบไปอาบตอนนั้นเสมอ




บังเอิญวันนั้นมีคลื่นใหญ่ซัดเรือมะนาวล่ม มะนาวลอยน้ำมาเป็นแพ นายประยงค์นึกเสียดายรีบว่าไปเก็บมะนาว เนื่องจากไม่มีภาชนะเก็บจึงคิดจะนำมะนาวไปฝังดิน แต่พอเหยียบดินเท่านั้นเองเท้าซ้ายที่กดลงไปก็รู้สึกว่ามีสิ่งหนึ่งมาพันรอบขาเอาไว้จากความรู้สึกของเขา เหมือนกับว่ามันเป็นเส้นผมแต่ลื่น และเย็นเสียยิ่งกว่าน้ำแข็ง พอพันเท้าแล้วก็รู้สึกหมดแรงจวนจะจมน้ำอยู่แล้ว พูดไม่ได้ร้องไม่ออก แม้แต่เดินยังเดินไม่ไหว เด็กชายประยงค์แข็งใจออกแรงเอามือปัดเส้นนั้น แต่กลับปัดไม่ถูก เหมือนมันไม่มีรูปร่างตัวตน เมื่อขณะที่เขาจวนจะจมน้ำ ทันใดด้วยเดชะบุญช่วย ทำให้นึกถึงพระคาถาขับผีน้ำ ที่เคยเรียนมากับพระธุดงค์แล้วเส้นผมผีที่พันเท้าอยู่ก็หลุดออกมาทันที จากวันนั้นจนถึงแก่กรรมนายประยงค์ไม่เคย ลงอาบน้ำในแม่น้ำอีกเลย

ความเชื่อ หลังความตาย

ความรู้ที่ลี้ลับที่จิตสัมผัสได้ เป็นเรื่องของจิตวิญญาณในอีกระดับหนึ่ง ที่อยู่ต่างโลกต่างมิติ ไม่ใช่และไม่เกี่ยวกับศาสนา หรือคำสั่งสอนของศาสนา ที่เป็นเรื่องของมนุษย์กับพฤติกรรม ในสังคม และความรู้ที่ว่าไม่สามารถที่จะได้มาด้วยการปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของศาสนา ด้วยการเข้าวัดเข้าวา ด้วยการเป็นนักบวชหรือพระ แต่ได้มาจากการสัมผัสกับจักรวาลแห่งจิตจากภายในของแต่ละคน



เฮโรโดตัส บิดาแห่งประวัติศาสตร์ นักปราชญ์ชาวกรีก นับว่าป็นบุคคลแรก ที่ได้บันทึกการเดินทางและเรื่องราวต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เป็นผู้เดียวที่ได้บรรยายความวิจิตรพิสดาร ของปิรามิดแห่งกูฟู ที่อียิปต์ และเปรียบเทียบกับหอคอยแห่งบาเบล ในเมโสโปเตเมีย ทั้งสองได้ถูกสร้างขึ้นในยุคใกล้เคียงกัน แต่น่าเสียดายที่หอคอยแห่งบาเบล เล่ากันว่า พระราชาได้บังคับเอาเลือดเนื้อของทาส และประชาชนผู้ยากไร้ มาก่อสร้างหอคอยที่วิจิตรพิสดารที่สูงเสียดฟ้า ด้วยความประสงค์ที่จะได้พบกับพระผู้เป็นเจ้า แต่พระเจ้าไม่พอใจ หอคอยแห่งบาเบลจึงได้ถูกทำลายไปเมื่อประมาณ 2,200 ปี เสียก่อน



ในระหว่างที่อียิปต์ในสมัยรัชกาลสุดท้าย เฮโรโดตัสบันทึกไว้ว่า รอบ ๆ บึงเล็กในอาณาเขตของวัดแห่งซาอีส อันเป็นสถานที่ต้องห้าม ในยามค่ำคืน พระและสานุศิษย์ได้สาธิตจำลองการเดินทาง และประสบการณ์ของเทพโซิริสผู้ยิ่งใหญ่แห่งสวรรค์ นั่นคือ ประสบการณ์ของชีวิต การเกิด การตาย และการฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดเป็นศาสตร์ลี้ลับที่สุดของอียิปต์



นักประวัติศาสตร์โบราณเข้าใจ และพอที่จะอธิบายได้ดังนี้ ในรูปจำลอง ฟาโรห์แรมซีนีตัส ได้ถือกำเนิดมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง หลังจากที่เป็นพระอดีตกาลร่วมสามพันปีมาแล้ว จิตวิญญาณหลังจากออกจากร่างก็อยู่ในลักษณ์ โปร่งแสง เช่นรูปกายเดิม แต่รูปกายที่เป็นเนื้อหนังภายนอกผุพังเสื่อมสลายบ้างก็กลายเป็นร่างของพืช บ้างก็กลายเป็นร่างของสัตว์ต่างๆ หมุนเวียนเปลี่ยนสภาพในตลอดช่วงของเวลา 3,000 ปีนั้น ๆ ส่วนจิตวิญญาณก็ได้เดินทางไปในนรก รับโทษทัณฑ์จนหมดสิ้น ด้วยการกลับกลายเป็นสัตว์ชั้นต่ำจากชนิดหนึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่ง ทนทุกข์ทรมาน เมื่อครบเวลา 3,000 ปี จิตวิญญาณก็เป็นอิสระ และรวบรวมเอาอนุภาคที่เป็นส่วนต่าง ๆ ที่เคยเป็นส่วนของร่างตนเองก่อนที่จะถึงแก่ความตายในอดีต ที่อยู่ในร่างใหม่และสถานที่ใหม่ต่าง ๆ กันเข้ามาไว้ด้วยกัน จากนั้นก็สร้างรูปใหม่ด้วยพลังงานที่เป็นเช่นนิสัย เหมือนพลังจิตที่นกใช้สร้างรังตน กลายเป็นร่างใหม่ และเกิดขึ้นมาใหม่



ตำนานที่เล่าถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากอดีตที่ยาวนานของชนเผ่า และเชื้อชาติต่าง ๆ ทั่วโลก มีบันทึกไว้มากมาย น่าแปลกใจที่ไม่ว่าจะเป็นนิยายปรัมปราของชนเผ่าไหนก็ตาม เนื้อหาสาระที่เป็นประเด็นหลัก ล้วนคล้าย ๆ หรือ เหมือนกัน ในเรื่องของเจ้าเข้าทรง หรือการนั่งทางใน เป็นศาสตร์ที่แม้ว่าบางคนจะถือเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่ไร้เหตุผล แต่ก็ไม่มีใครสามารถนำเหตุผล และความเป็นวิทยาศาสตร์มาตอบได้



ชนเผ่าพื้นเมืองในออสเตรเลียตะวันตก มีวิธีติดต่อกับคนที่ได้ตายไปแล้ว ด้วยวิธีการเข้าทรง ด้วยการสะกดจิตตนเอง และสามารถเดินทางไปพบกับผู้ตายในปรโลก ทั้งยังสามารถพูดคุยไต่ถามเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องส่วนตัวที่เกิดขึ้นกับผู้ตาย หรือตอบคำถามญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ได้อย่างถูกต้อง ชนเผ่าอินเดียนแดงแห่งลุ่มแม่น้ำเอมะซอน เปรู เผ่าดั้งเดิมมากเผ่าหนึ่ง เชื่อว่า เผ่าคอนนิโบ ได้มีการเข้าทรงเจ้า จากการศึกษาโดย ไมเคิล ฮาร์เนอร์ นักโบราณคดีแห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งอเมริกา ด้วยการที่เขาต้องยอมเข้าเผ่าโดยดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สกัดจากพืชชนิดหนึ่ง หลังจากดื่ม สักครู่หนึ่งเขาก็รู้สึกเหมือนฝันไปว่าเขาได้ล่องลอยตัวผ่านมาสู่สถานที่แห่งหนึ่งที่เป็นที่อยู่ของเทวดา และภูตผีปิศาจ ปิศาจบางตัวมีหัวเป็นจระเข้กำลังอ้าปาก เขาได้เห็นสสารที่เป็นพลังงานของตนเอง ออกจากร่าง ลอยไปยังเรือที่มีหัวรูปมังกร บนเรือมีร่างมนุษย์ที่แต่งตัวเหมือนชาวอียิปต์ แต่มีหัวเป็นนกกางเขนหลายตน ทันทีเขาก็รู้สึกว่าตัวเองกำลังจะตายไปจากโลกอย่างช้า ๆ ขณะนั้นเองเขาก็เห็นมังกรตัวน้อย ๆ มีปีก พากันมุดออกมาจากกระดูกสันหลัง และติดต่อกับเขาทางกระแสจิต บอกว่า แท้จริงแล้ว พวกมัน มังกรน้อย ๆ ทั้งหลายนั่นเองที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นพิภพแห่งดาวเคราะห์ดวงที่เรียกว่าโลกนี้



แคลไวท์เชื่อว่า ในสังคมของชนที่พวกชาวตะวันตกถือว่าเป็นชนที่ไร้อารยธรรม มนุษย์ยังมีความผูกพันธ์กับธรรมชาติและจิตเป็นอิสระ ไม่ถูกจำกัด หรือถูกบังคับไว้ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางกายภาพ ที่เป็นวัตถุ จิตที่เป็นอิสระจึงสามารถติดต่อกับโลกแห่งจิตที่แท้จริงแล้ว ก็เป็นโลกแห่งความจริงในอีกมิติหนึ่ง ความเห็นของแคลไวท์ดูอธิบายความคล้ายคลึง ของผู้ที่มีประสบการณ์การพบเห็นหรือฝัน ภูตผีปิศาจ และเทวดาที่มักจะเกิดกับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมาตลอด และมีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหาวัตถุกันจนสมองไม่มีเวลาว่าง มีความผูกพันธ์กับความเป็นความตายด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ คนที่อยูในชนบทตามชายป่าชายเขา ไม่ว่าที่ใด หรือคนที่เชื่อในสิ่งลี้ลับ จึงมักมีโอกาสที่จะพบเห็นสิ่งเหนือธรรมชาติ เจ้าที่ ผีสาง นางไม้ ได้มาก และบ่อยกว่าคนที่อยู่ในเมือง ผู้ร้อนรน และรีบเร่งในการดำรงชีวิตเป็นประจำวันกับตนเอง และครอบครัว จนจิตถูกบังคับอย่างสิ้นเชิง จึงยากนักที่คนในเมืองโดยทั่วไปสัมผัสกับปรากฏการณ์ทางจิต เรื่องของความตาย และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความตาย คนที่ไม่เชื่อเรื่องเช่นนี้ แม้บางคนที่เกิดอยากจะเชื่อ อยากจะเห็นก็ยากที่จะสมประสงค์



ที่มา : ชีวิตหลังตาย วิเคราะห์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดย นายแพทย์ประสาน ต่างใจ

พระราหู

พระอิศวรผู้เป็นเจ้า สร้างพระราหูขึ้นโดยใช้ศีรษะผีโขมด 12 ตัวมาป่นลง แล้วประพรมด้วยน้ำอมฤตก็บังเกิดเป็นองค์พระอสุรินทรเรืองฤทธิ์ (ดำสลัว) (Dark) ทรงทิพยสุวรรณแสงสีใสสะอาด และมีวิมานเป็นสีนิลมีมหาสุบรรณราช(ครุฑ) เป็นพาหนะ สถิตในทิศพายัพ




ตำนานกล่าวว่า

ในอดีตปฐมกาลล่วงมาแล้ว พระอาทิตย์เกิดเป็นพญานาค พระพฤหัสบดีเกิดเป็นพระอินทร์ พระเสาร์เกิดเป็นพญานาค และพระอังคารเกิดเป็นพญาราชสีห์ ดำริห์พร้อมใจกันจะสร้างสระน้ำ ไว้ให้เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ และ เทวดา จึงพากันไปปรึกษาพระราหู พระราหูว่า เราไม่ได้อาศัยน้ำ และแผ่นดินนั้นด้วย แต่นั้นมา เทวดาทั้ง 4 ก็เคียดค้นต่อพระราหู ครั้นประชุมกันสร้างมหาสระชื่อว่า “สุรามฤต” เสร็จแล้วก็คิดอ่านช่วยกันรักษา ฝ่ายพระอินทร์ รักษาทางด้านเขาพระสุเมรุ พระยาครุฑรับรักษาทางด้านเขาสตบริภัณฑ์ พระยาราชสีห์รับรักษาทางป่าหิมพานต์ พระยานาครับรักษาทางดานมหาสมุทร อยู่จำเนียรกาลนานมาเกิดพิบัติเหตุวันหนึ่งพญาครุฑไล่จะจกกินพญานาค พญานาคหนีไปพึ่งพระราหู ขอร้องให้ช่วยชีวิต พระราหูเห็นดังนั้น จึงตวาดว่า เหวยครุฑใจบาป เอ็งมาไล่พวกข้าทำไม พญาครุฑตอบว่า นาคนี้เป็นอาหารของเรา พระราหูก็โกรธทะยานเข้าวิ่งไล่ พญาครุฑก็แล่นหนีไปพึ่งพระอินทร์ พระราหูมิอาจไล่เข้าไปได้ ก็หยุดอยู่ และเกิดกระหายน้ำเป็นกำลัง จึงลงไปกินน้ำในสระสุรามฤต พระอินทร์เห็นดังนั้น ก็ขว้างจักรไปถูกกายพระราหูขาดสองท่อน เดชะอำนาจที่ได้ดื่นน้ำสุรามฤต จึงมิตาย



ตามหลักพยากรณ์

พระราหูสร้างด้วยศีรษะผีโขมดป่า ดังนั้น นิสัยจึงเป็นผี คือ ชอบกินเครื่องเซ่น เช่นกุ้งพร่า ของยำ และ อาหารชนิดสุก ๆ ดิบ ๆ นอกนั้นยังชอบเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด เช่น กัญชา ยาฝิ่น เป็นต้น นิสัยคล้ายคลึงกับพระเสาร์ โหราจารย์บางคนใช้พระเสาร์พยากรณ์แทนก็มี ซึ่งไม่ใคร่ผิดจากกันเท่าใดนัก พระราหูเป็นสหายรักสนิทกับเสาร์ และนอกจากเสาร์แล้ว ราหูไม่ยอมคบหาสมาคมกับพวกดาวพระเคราะห์ใด ๆ เลย มีนิสัยชอบยอชอบสรรเสริญ ชอบฟังเสียงที่เพราะเสนาะหู เช่น ดนตรี และความรื่นเริงบันเทิงใจเป็นที่สุด โกรธง่ายหายเร็ว ใจคอบึกบึน องอาจ กล้าหาญ ไม่เกรงกลัวสิ่งใด แต่ถ้ายอมกลัวแล้ว ก็ยอมอย่างราบคาบจริง ๆ ชอบผจญภัย เป็นประมุขของเหล่าพาล ขึ้นชื่อนักเลงแล้วเป็นของราหูทุกชนิด ลงได้รักก็รักจนหลง ลงได้เกลียดใครก็เกลียดไม่รู้หาย ทำนองพวกอสุรยักษ์ ตามพยากรณ์บางแห่งเรียกอสุราก็มี ถือว่าเป็นยักษ์เอาทีเดียว ตามอิทธิฤทธิ์ของดวงดาว ถือว่าราหูคือธาตุลมพายุ มีลักษณะร้ายแรง สิ่งใดที่กีดขวางต้องวินาศไปหมด ถ้าราหูให้ร้ายแม้จะกำเนิดในตระกูลเศรษฐีอันอุดมไปด้วยทรัพย์ ก็ล้างผลาญเสียมิให้เหลือหลอ แม้นราหูจะเป็นตัวดี หากกุมลักขณาก็ยังข่มขี่ให้ซวดเซไปในอารมณ์แปลก ๆ ได้ ราหูเมื่อผลาญได้เท่าใด ก็อาจสามรถที่จะช่วยทำคุณให้รวดเร็วดุจกัน ดังคำกล่าวว่า “ให้คุณอนันต์โทษมหันต์” สามารถช่วยตนเอง แล้วยังช่วยผู้อื่นได้ด้วย



อนึ่งราหูนี้ ตามตำนานกล่าวว่า เคยไปลักน้ำทิพย์กิน ถูกขว้างด้วยจักรตัวขาดครึ่งท่อน อาศัยที่ได้กินน้ำทิพย์ จึงมิตาย ฉะนั้นราหูจึงมักมีโรคประจำท้องเสมอ ตามมหาทักษากล่าวว่า เมื่อราหูเสวยอายุนั้นร้ายกาจนัก เท่าที่ได้สังเกต มักป่วยตั้งแต่สะดือลงมาถึงหัวเข่าในร่มผ้า มักจะเป็นโทษของราหูดุจกัน ไม่รู้จักอาย และเกรงใจใคร คือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ เจ้าโวหารเล่นลิ้นผิดผันด้วย ถ้าหากราหูนำหน้าลัคขณาแล้วมีเสาร์ตามหลัง หรือมีเสาร์ตามหน้าราหูตามหลังแล้ว ใน ๒ ประการนี้มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นมักมีนิสัยกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งความตาย ตัวอย่างเช่น ในดวงพระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรของเราทำนองนี้ ยอมปล้นค่ายอย่างทหาร เอาพระชนม์ชีพเข้าแลก จนประสบชัยชนะ แต่ถ้าเสาร์ราหูเล็งกันแล้ว เจ้าชาตามักตายด้วยอาการรวดเร็ว แม้เจ้าชาตาจะสูงอายุ ราหูก็ยังทรงอำนาจ แม้จะเป็นดาวพระเคราะห์ที่ต่ำกว่าดาวทั้งหลาย แต่ก็เป็นที่เกรงกลัวของหมู่ดาวสูงสุด เพราะความเป็นพาลของพระราหู และมีดีอีกอย่างหนึ่งของราหูคือไม่เบียดเบียนข่มเหงผู้น้อยที่ยอมเกรงกลัว หรือผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ ถ้าเป็นหัวหน้า พวกบริวารก็มีความยำเกรง รักใคร่นับถือเป็นที่พึ่งได้อย่างดี ถ้าเป็นนายทหารชั้นผู้บังคับบัญชา ย่อมเป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาผู้อยู่ใต้อำนาจ เพราะไม่ถือตนไว้ยศ มีทรัพย์ก็ไม่ยึดถาวร เพราไม่ตระหนี่ ทำอะไรใหญ่โตมโหฬาร คิดใหญ่ใฝ่สูง แต่ไม่ยั่งยืนถาวร ทำคุณให้แก่ใครไม่ขึ้นก็ชอบทำ เพราะเห็นเป็นของสนุก เวลาราหูมีอิทธิฤทธิ์แข็งกล้า พฤหัสบดีอยู่สูงก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายต่ำในบางเวลาเช่นเดียวกัน



อนึ่งราหูนี้ไม่มีเรือนชาตาที่อยู่ ต้องไปอาศัยเรือนเสาร์ในราศีกุมภ์เป็นเรือนครอง และไปอยู่ในราศีตุลย์ เป็นราชาโชค อุจจาวิลาศในเรือนศุกร์กับราศีเมถุน เป็นปกิณกะโชคในเรือนพุธ เพราะใน ๓ ราศีนี้เป็นธาตุลม ราหูอาศัยได้ ฉะนั้น ราหูจึงเป็นเจ้าแห่งความดุร้ายเก่งกาจในเรือนเสาร์ เป็นอาจารย์และแรงกามคุณในเรือนศุกร์ เจ้าโวหารพลิกแพลงในเรือนพุธ ดาวราหูนี้ เป็นดาวสำคัญในการพยากรณ์ที่เต็มไปด้วยอำนาจตามตำราโบราณ แต่งเป็นกลอนทำนายไว้ว่า “ราหูมาต้องลักขณา แม้สูงศักดิ์สุราลัยจะจากยศไกร วิบากใจไฟเผาผลาญ” ในโชคเทวฤทธิ์ก็ว่า “อสุรินทร์ทับลักขณาในบาปเคราะห์ จรไปเข้าทับกันทั้งจันทร์มาต้องลักขณา ท่านทายตัดชีวาถึงอาสัญ” ที่ร้ายก็ร้ายเอามากดังนี้



ถ้าจะถึงฝ่ายดีก็ดีเลิศ เช่น ตำราว่าพฤหัสบดี เสาร์ ราหู ทั้ง ๓ หมู่มาเป็นศิริต้องลักขณา วัตะสังคี มีบริวารเหลือหลาย ลูกไพร่นักเป็นนาย แม้เชื้อสายจะครองเมือง เวลาดี และร้ายเทียบเสมอ พฤหัสบดี ได้ในด้านตรงข้าม



อนึ่งตำนานของอินเดีย กล่าวว่า ราหูนี้เป็นหมุดจุดสกัดของโลก อยู่ตรงข้ามกับดาวพระเกตุ มีลูกเป็นดาวหางหรือผีพุ่งใต้ ราหูนี้มี ๒ ตอน คือ เมื่อขาดโดยถูกจักรของพระอินทร์แล้ว คงเป็นดาวตอนหนึ่งมาเป็นโลกพิภพ คือ โลกที่เราอยู่ตอนหนึ่ง โหรฮินดูเกรงขามราหูไม่น้อยกว่าเสาร์ ส่วนโหรฝรั่งไม่สู้กลัวราหู แต่กลัวเกตุ ซึ่งเป็นท่อนหางมากกว่า อย่างฮินดูกล่าวว่า ถ้าหางไปฟาดอะไรเข้า จะทำให้สิ่งนั้นวอดวายเสียหาย ส่วนท่อนหัว ซึ่งเป็นพิภพนี้ กระทำความเที่ยงไม่มีในโลก โดยจิตใจของมนุษย์ย่อมหวั่นไหวมัวเมาไปด้วยอำนาจ ของธาตุราหู



ในการยกเอาราหูขึ้นมาพยากรณ์มากกว่าดาวนพเคราะห์อื่น ก็เพราะว่าราหูแม้จะจรในจักรราศี ก็ไม่เหมือนดาวต่างๆ คือ เดินย้อนพวกดาวอื่น และเกตุก็เดินย้อนเช่นเดียวกันกับราหู จึงถือกันว่า หัวกับหางไปด้วยกัน และเป็นดาวบาปเคราะห์



พระบูชาวันเกิด

คนที่เกิดวันพุธกลางคืน ควรมีพระพุทธรูปปางเสด็จประทับในป่าปาริเลยยถะ (ป่าเลไลย) บูชา จึงจะมีความสุขความรุ่งเรืองดี