ห้าม คลุมดำ

ประวัติพระพิราพ(บรมครูอสูรเทพ ปางอวตาลพระศิวะเจ้า)

พระพิราพ" เป็นใคร มาจากไหน และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อวงการนาฏศิลป์และดนตรี?? ตรงนี้มีคำตอบว่า พระพิราพ คือปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นปางที่ดุร้าย เหมือนกับพระอุมาที่มีปางเจ้าแม่กาลี พระพิราพถือเป็นเทพเจ้าแห่งความตายและสงคราม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นผู้ให้ชีวิตและปัดเป่าโรคภัยได้



ส่วนเหตุที่ว่า ทำไมจึงนับถือพระพิราพว่าเป็นครูในวงการนาฏศิลป์และดนตรีนั้น เริ่มมาจากในประเทศอินเดีย ซึ่งถือว่าพระพิราพ หรือพระไภรวะนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า "วิจิตรตาณฑวะ" ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น "นาฏราช" ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพเกรงกลัว เพราะถือเป็นเทพที่บันดาลความเป็นความตายได้





ตามคติตำนานแต่โบราณกล่าวว่า พระไภราวะนี้มีฤทธิ์ในการปราบภูตผีปีศาจ ในสมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาดคร่าชีวิตผู้คนทั้งหลาย ขาดที่พึ่งจึงได้ระลึกถึงพระไภราวะผู้ประทานชีวิตและความตายอันเป็นภาคมหาปราบภาคหนึ ่งของพระศิวะเจ้า เมื่อคนทั้งหลายต่างพากันบูชาพระไภราวะแล้ว โรคร้ายทั้งหลายทั้งปวงก็หายไป บังเกิดความร่มเย็น

เป็นสุขขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นการนับถือพระไภราวะนี้จึงมีคติที่นับถือกันว่าผู้ใดก็ตามที่นับถือบูชาแล้ว ผู้นั้นจะปราศจาก

ภยันอันตราย อาถรรพณ์ร้ายทั้งปวง ทั้งยังช่วยให้เกิดสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย



คติการนับถือพระไภราวะนี้เข้ามาในไทยพร้อมกับวิชานาฏศิลป์ คำว่าพระพิราพนั้นก็มาจากคำว่า “ไภราวะหรือไภรวะ”แล้วภายหลังเพี้ยนมาเป็น “พระไภราพ” จนที่สุดก็กลายมาเป็นคำว่า “พระพิราพ” ในคติของชาวนาฏศิลป์ที่นับถือ





พระพิราพนั้นก็เนื่องจากเชื่อถือกันว่า พระพิราพนี้เป็นบรมครูทางฝ่ายยักษ์ผู้สูงสุดและยังถือว่าพระพิราพนี้เป็นผู้ประทานโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม อุดมด้วยทรัพย์สมบัติ ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์จะเป็นเมตตามหานิยมแก่

คนทั้งหลาย บังเกิดความเจริญสูงสุดในชีวิตทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องการงาน การเงิน และจะมีความร่มเย็นเป็นสุข

ห่างไกลจากโชคร้ายภยันอันตรายทั้งหลายอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่าจะต้องประสบเคราะห์หามยามร้ายอย่างหนึ่ง





อย่างใดก็ดี หากมีพระพิราพบูชามีบารมีแห่งพระองค์คุ้มหัวคุ้มเกล้าแล้วไซร์ ย่อมปลอดภัย ผ่อนหนักเป็นเบา แคล้วคลาดไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้นว่าบ้านใดมีผู้ป่วยเรื้อรังมานานหรือญาติมิตรทั้งหลายเจ็บป่วยขาดที่พึ่ง

เกรงว่าจะรักษามิได้ ก็ให้ระลึกถึงคุณบรมครูพระพิราพ จุดธูปเทียนสักการะ ตั้งจิตอธิฐานถึง คุณพระพุทธเจ้าคุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า และคุณบรมครูอสูรเทพพระพิราพเอาเถิดจะเกิดผลดีเป็นแน่แท้ อำนาจแรงครู จะช่วยปัดเป่าโรคร้ายเสนียดจัญไร เคราะห์ร้าย ทั้งหลายให้พินาศไปเอง แม้ว่าจะประสงค์ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสงค์เงินทองมิให้ขาดมือ ปรารถนาอยากมีโชคมีลาภ ก็ให้จุดธูปเทียนบูชาพระองค์แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้พระองค์โปรดประทานพรอันสิ่งเป็นม งคล ก็จะสมหวังในกาลทุกเมื่อแลฯ



อนึ่งเรื่องเกี่ยวกับพระพิราพนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศีรษะโขนก็ดี การสร้างพระพิราพเต็มองค์ในรูปแบบวัตถุมงคลก็ดี หรือแม้กระทั่งการร่ายรำท่ารำพระพิราพหรือการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์พิราพก็ดี ล้วนแล้วแต่

เป็นความศักดิ์สิทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้นสำหรับการรำท่ารำพิราพเต็มองค์นั้น ครั้งหนึ่งเกือบสูญหายไปจากวงการนาฏศิลป์ในราวปี พ.ศ.๒๕๐๔ นั้นได้ จัดให้มีการถ่ายทอดท่ารำขึ้นที่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงได้มีการ สืบสานตำนานท่ารำพระพิราพเต็มองค์และคติความเชื่อความนับถือพระพิราพมิให้สูญหายไปจา กวงการ

นาฏศิลป์ของไทยเราสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้







คัดข้อมูลจากใบบูชาพ่อพิราพ หลวงพ่อกาหลง เขี้ยวแก้ว

1 ความคิดเห็น: